วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

58.ตำลึง

ตำลึง


ลักษณะพฤกษศาสตร

ตำลึงละตำลึงเป็นผักพื้นบ้านหากินได้ทุกหัวระแหง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นตำลึงขึ้นพันธุ์ไม้อื่นหรือ
ไม่ก็ขึ้นตามริมรั้วจะเรียกผักริมรั้วก็คงไม่ผิด ปกติบ้านใครมีที่มีทางก็แทบไม่ต้องซื้อหาให้เปลือง แต่ถ้าอยู่ในเมืองลองไปเมียงๆมองๆแถวตลาดสดหรือตลาดติดแอร์ดูเถอะ รับรองไม่ผิดหวัง ตำลึงมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก และที่เห็นจะถูกใจคนรักสุขภาพแน่ ๆ ก็คือ ตำลึงมีเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด นอกจากนี้ยังให้แคลเซียมอีกด้วย ส่วนใครที่มีปัญหาขับถ่ายน่าลองมารับประทานดูเพราะตำลึงมีกากใยที่ช่วยให้ ระบบขับถ่ายทำงาน ได้ดีตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยที่มีมือจับเพื่อเกาะยึดหลักหรือต้นไม้อื่นๆลำ เถาสีเขียวใบเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปตามเถา ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื้อยตื้นๆ หยักเว้า 5 แฉก เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน 5-7 เส้น ใบกว้าง 3-4 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3-5 เซนติเมตร
ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ออกเดี่ยวๆหรือออกเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก เป็นไม้ที่ไม่สมบูรณ์เพศ คือเพศผู้และเพศเมียจะอยู่คนละต้นกันซึ่งสังเกตได้จากใบถ้าใบหยักมากเป็นเพศ ผู้แต่ดอกจะสีขาว ทรงกระบอก หัวแฉกเหมือนกันผล มีรูปร่างคล้ายแตงกวา แต่มีขนาดเล็กกว่า ผลที่อ่อนมีสีเขียว และมีลายขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดงสด เนื้อลักษณะสีแดง สามารถรับประทานได้


ฤดูกาล :

ตำลึงแตกยอดตลอดปี ให้ผลผลิตมากในฤดูฝน

แหล่งปลูก :

ตำลึงขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามรั้วบ้าน สวนพบในทุกภาคทั่วประเทศไทย ส่วน จ.นนทบุรีเป็นแหล่งปลุกเพื่อจำหน่ายยอดอ่อน


ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ดอก เถา ราก น้ำยางต้น


ช่วงเวลาเก็บยา เก็บใบสดและสมบูรณ์ มีตลอดปี


การปลูก

พรวนดินให้ร่วนซุยผสมกับปุ๋ยคอก ขุดหลุมและหยอดเมล็ดในหลุม เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกหาไม้มา
ทำเป็นหลักให้ลำต้นเลื้อยพันบนหลัก ไม้ที่ทำเป็นหลักอาจจะปักพิงกับรั้วทะแยงทำมุม 45 - 60 องศา ในระยะแรกพยายามจัดให้ต้นพันไปที่หลักอย่าให้เลื้อยไปตามผิวดิน หมั่นรดน้ำเช้า - เย็น และให้ปุ๋ยยูเรีย 2 - 3 สัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง เมื่อตำลึงทอดยอดยาว หมั่นเด็ดยอดมารับประทาน จะทำให้เกิดยอดใหม่ขึ้นมาแทน


การขยายพันธุ์

เมล็ด ใช้เมล็ดจากผลแก่ หยอดลงในหลุม เมื่อต้นกล้างอก หาไม้ปักเป็นหลัก เพื่อให้ตำลึงเลื่อย ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย นอกจากนั้นสามารถนำเถาแก่ปักชำ โดยตัดเถาแก่ขนาด 5-6 นิ้ว ปักในถุง
เพาะชำ เมื่อรากและยอดงอก ก็ย้ายไปปลูกในหลุม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น