วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

47.ต้นพลับพลึง


พลับพลึง


คำกล่าวที่ว่า"ในความสวยมักจะซ่อนความร้ายกาจ"สอดคล้องกับสมุนไพรที่ผู้ เขียนจะเขียนในฉบับนี้ เพราะสมุนไพรที่ว่านี้นอกจากจะมีดอกที่สวยงาม มีกลิ่นหอม และสรรพคุณรักษาอาการต่างๆแล้วยังมีบางส่วนที่มีความเป็นพิษต่อร่างกายซึ่ง ถ้าท่านผู้อ่านจะนำไปใช้ก็ต้องมีความรู้เพื่อที่จะได้นำไปใช้อย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยงการได้รับพิษเข้าสู่ร่างกาย

ท่านผู้อ่านคงอยากรู้แล้วนะค่ะว่าสมุนไพรนั้นคืออะไรผู้เขียนจะเฉลยแล้วนะค่ะสมุนไพรนั้นคือ “ พลับพลึง “

พลับพลึงมี 2 ชนิดคือพลับพลึงดอกขาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crinum asiaticum Linn.อีกชนิดหนึ่งคือ พลับพลึงดอกแดง ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crinum amabile Donn. ทั้ง 2 ชนิดอยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE

พลับพลึงจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีหัว ( bulb ) อยู่ใต้ดินและขึ้นเป็นกอมีอายุหลายปี ลำต้นเหนือดินเป็นรูปทรงกระบอกประกอบด้วยกาบใบที่เรียงซ้อนกันสูงประมาณ 30 ซม. ใบเรียงซ้อนสลับกันรอบลำต้นรูปใบยาวเรียว อวบน้ำ

ดอกเป็นช่อพุ่งตรงขึ้นจากกอ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 90 ซม. ตอนปลายมีดอกเป็นกระจุก 12 – 40 ดอก กลิ่นหอม

พลับพลึงดอกแดงจะมีดอกขนาดใหญ่กว่าและมีแถบสีแดงอยู่ด้านหลังกลีบดอก และยังมีใบที่ใหญ่กว่าและลำต้นจะสูงกว่า

ท่านผู้อ่านบางท่านคงรู้จักต้นพลับพลึงเป็นอย่างดีเพราะนิยมปลูกเป็นไม้ ประดับรอบๆบ้านเนื่องจากมีดอกที่สวยงามนั้นเองเมื่อรู้จักต้นแล้วก็ควรที่จะ ทราบด้วยว่าส่วนที่มีพิษและส่วนที่มีการนำไปใช้เป็นยาคืออะไร

สำหรับส่วนที่มีพิษของพลับพลึงคือ หัวใต้ดิน โดยพิษที่ว่านี้จะเกิดก็ต่อเมื่อท่านผู้อ่านรับประทานเข้าไปโดยจะไประคาย เคืองเยื่อบุกระเพาะอาหารและกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางบริเวณที่ควบคุมการ อาเจียน ซึ่งสารที่ออกฤทธิ์ดังกล่าวเป็นสารกลุ่มแอลคาลอยด์ชื่อ lycorine , crinamine โดยหัวสดจะพบสารกลุ่มนี้มากกว่าหัวแห้ง

เมื่อท่านผู้อ่านรับประทานเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และมีตัวสั่น ซึ่งเมื่อมีอาการที่กล่าวมานั้นต้องรีบดื่มน้ำมากๆเพื่อเจือจางสารพิษและรีบ นำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้องและต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อดูอาการ

สำหรับอาการเป็นพิษที่รุนแรงในมนุษย์นั้นยังไม่มีรายงาน สำหรับสัตว์ที่ได้รับสารพิษจะมีอาการรุนแรงกว่าในคนโดยมีอาการเซื่องซึม ,ชัก , ทำลายตับและทำให้เสียชีวิตได้ด้วย

เมื่อได้ทราบส่วนที่เป็นพิษแล้วก็มาถึงส่วนที่นำมาใช้เป็นยาซึ่งในตำรายาแผน โบราณนั้นใช้ส่วนใบไปลนไฟนำมาพันบริเวณที่ปวดบวมเช่นตามข้อหรือกล้ามเนื้อ ต่างๆ ซึ่งในสมัยก่อนนิยมทำมากแต่ระยะหลังๆมีการใช้น้อยลงอาจจะเนื่องมาจากการใช้ ยุ่งยากหรืออาจจะหาต้นพลับพลึงได้ยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น