วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

102.ต้นลินมังกร

.. ต้นลิ้นมังกร

ชื่อสามัญ Mother - in - law's Tongue
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sancivieria..
ตระกูล AGAVACEAE

ถิ่นกำเนิด แถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ




ลิ้นมังกรเป็นไม้ประดับที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์มาก
สามารถปลูกได้ทั้งภายในอาคารบ้านเรือนและกลางแจ้ง

นอกจากความสวยงามของลิ้นมังกรที่มีความหลากหลาย
และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละสายพันธุ์

101.ต้นน้อยหน่า

      น้อยหน่า เป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย ให้ผลดก ทนแล้ง เป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ ผลผลิตบางส่วนส่งไปจำหน่ายประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์

ลักษณะทั่วไปของพืช
       น้อยหน่าเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน ทรงพุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 2 - 5 เมตร สามารถเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกประเภท แต่ต้องมีการระบายน้ำดี มีสภาพเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5 - 7 น้อยหน่าเป็นพืชที่ชอบอากาศแล้ว ไม่ชอบที่ชื้นและน้ำขังแฉะเนื่องจากต้องมีระยะแล้งในเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เพื่อการทิ้งใบในการแตกใบใหม่และดอกน้อยหน่าอายุ 2 ปี จะเริ่มให้ผลและจะให้ผลดีอีก 2 - 3 ปี หลังจากนั้นต้นจะเริ่มโทรมต้องตัดแต่งและบำรุงต้น ปกติต้นน้อยหน่าจะมีอายุ 8 -10 ปี จะเริ่มโทรมให้ผลขนาดเล็กและรูปร่างไม่สวยงาม จึงต้องตัดทิ้งปลูกต้นใหม่แทน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลบำรุงต้นด้วย ระยะเวลาตั้งแต่ดอกบานถึงเก็บเกี่ยวผลประมาณ 4 เดือน ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นน้อยหน่าที่ให้ผลผลิตเต็มที่ประมาณ 30 - 50 กิโลกรัม น้ำหนักผลน้อยหน่าอยู่ระหว่าง 5 - 10 ผล/กิโลกรัม ฤดูกาล เก็บเกี่ยวผลผลิตระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

100.หญ้าปักกิ่ง

 

หญ้าปักกิ่งคืออะไร ?
หญ้าปักกิ่งหรือ เล่งจือเช่า เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงราว
10 เซนติเมตร ใบเดี่ยวลักษณะคล้ายใบไผ่ ผิวของใบเรียบเป็นมัน สีเขียวอมเหลือง ยาวไม่เท่ากัน หนาฉ่ำน้ำ ดอกเล็กๆ สีบานเย็น กลีบสีขาวแกมม่วง ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ที่ปลายต้น มีแหล่งกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีน ชอบดินทรายและที่มีร่มเงา ขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ



สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง ?
        อ้างตามหนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ ซึ่งจัดทำโดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พิมพ์เมื่อ เดือนสิงหาคม 2535 หน้า 146 ได้อธิบายสรรพคุณของหญ้าปักกิ่งไว้ว่า "ในตำรายาจีนปรากฏชื่อพืชสกุลเดียวกันนี้ ใช้รักษาอาการเจ็บคอและมะเร็ง ในประเทศไทยมีผู้นำหญ้าปักกิ่งมาใช้รักษาอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งในลำคอ ตับ มดลูก ลำไส้ ผิวหนัง และเม็ดเลือด เป็นต้น หญ้าปักกิ่งไม่แสดงพิษเฉียบพลัน และพิษกึ่งเรื้อรังในหนูขาว เป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็ง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย"

         เมื่อศึกษาเพิ่มเติมจากตำราจีนแล้ว ในตำรายังได้เขียนอธิบายไว้อีกว่า "หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นจัด สามารถใช้ขับพิษร้อนต่างๆ ในร่างกายได้ นอกจากนี้แล้วยังมีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะอีกด้วย"
 ดังนั้นถ้าหากผู้ป่วยโรคมะเร็งจะนำหญ้าปักกิ่งมาใช้ อาจนำมาใช้ได้ในผู้ป่วยที่ได้รับการทำเคมีบำบัดหรือฉายแสง โดยใช้หญ้าปักกิ่งมาช่วยในการระบายพิษของสารเคมี หรือรังสีที่ตกค้างในร่างกายได้ โดยนำส่วนต้นและใบ (ตัดรากทิ้ง) มาคั้นน้ำดื่มวันละ 1-2 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 5-6 วัน หลังจากหยุดรับการทำเคมีบำบัดหรือฉายแสง
ข้อควรระวังในการใช้หญ้าปักกิ่ง ?
        ไม่แนะนำให้ดื่มทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะหญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นจัด หากดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อไม่มีแรงได้ ดังนั้นผู้ที่ใช้หญ้าปักกิ่งควบคู่กันในการรักษา ควรมีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ความเย็นของหญ้าปักกิ่งส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ ได้
 หญ้าปักกิ่งจะออกฤทธิ์ดีที่สุดก็เมื่อใช้ต้นสดมาคั้นเอาน้ำดื่ม หากเป็นชนิดแห้งหรือแคปซูลอาจให้ผลได้ไม่ดีเท่า

99.หญ้าแพร

ลักษณะ

เป็นพืชที่ขึ้นบนผิวดินและมีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเรียวปลายแหลม บริเวณใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย มีช่อดอกที่ปลายยอด ดอกออกตลอดทั้งปี พบได้ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 40-400 เมตร บนพื้นที่แห้งแล้ง ทนดินเค็มและทนที่น้ำท่วมขัง แพร่พันธุ์เร็วมาก

ประโยชน์

ใช้ในการรักษาหน้าดิน เป็นอาหารที่ใช้แทะเล็มทางธรรมชาติของสัตว์ เป็นสมุนไพร ตำพร้อมกับสุรา นำมาพอกแก้บริเวณที่อักเสบ ปวดบวมได้ หรือนำมาบดอัดเป็นเม็ด รับประทานแก้โรคริดสีดวงทวาร นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือแผลหนองเรื้อรังก็ได้

ในพิธีไหว้ครู

หญ้าแพรกใช้ในพิธีไหว้ครู ซึ่งแสดงถึง ความเจริญงอกงามทางความรู้และสติปัญญาอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความอดทน

98.มานบาหลี

ที่บ้านปลูกม่านบาหลี ทำเป็นซุ้มทางเดิน เห็นครั้งแรกแถวรีสอร์ทสระบุรี
ต้นนี้น้องชายปลูก คิดจะปลูกต้องขยันตัดแต่งดูแล รากของเค้าไปถึงไหนงอกที่นั่น
ตัดก็ยังไม่ตาย วางทิ้งไว้เดินรากได้

97.หญ้าแฝก

        หญ้าแฝก เป็นพืชตระกูลหญ้าเช่นเดียวกับ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย และตะไคร้ พบกระจายทั่วไปหลาย ๆ พื้นที่ ที่พบในประเทศไทยจำแนกออกได้ 2 ชนิดได้แก่ หญ้าแฝกหอม และหญ้าแฝกดอน ในธรรมชาติ พบว่าแฝกทั้งสองชนิดนี้มีการกระจายตัวได้ดีในสภาพพื้นที่ทั้งที่ลุม และที่ดอน ในดินสภาพต่าง ๆ

ประโยชน์หญ้าแฝก
       1. ช่วยป้องกันการสูญเสียหน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตะกอนดินที่ถูกน้ำกัดเซาะและพัดพามา โดยจะถูกกอหญ้าแฝกดักไว้เมื่อเวลาผ่านไปหลาย ๆ ปี
จะกลายเป็นขั้นบันไดดินตามธรรมชาติ
       2. ช่วยลดความรุนแรงและความเร็วของน้ำไหลบ่า เมื่อน้ำไหลมปะทะแนวกอแฝกแล้วน้ำจะซึมลงสู่ดิน น้ำบางส่วนจะไหลผ่านแนวกอแฝกอย่างช้า ๆ
       3. ช่วยเสริมความมั่นคงแข็งแรงตามแนวตลิ่ง ฝายกั้นน้ำ ทางระบายน้ำ คลองส่งน้ำ ริมถนนสูง
       4. ใช้เป็นวัสดุคลุมดินรักษาความชุ่มชื้นและควบคุมวัชพืช
       5. ใบนอกจากใช้ทำตับหญ้ามุงหลังคาแล้วยังใช้ทำเครื่องประดับ เช่น กระเป๋า พัด ไม้แขวนเสือ ส่วนรากใช้ทำน้ำมันหอม สบู่ ยาสมุนไพรรักษาโรคบางชนิด เช่น รากบดละเอียดผสมน้ำแก้ไข้ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี รากต้มดื่มช่วยละลายนิ่วในกระเพาะปัสสาว

96.ดอกแครป่า



ชื่อที่เรียก


ดอกแคป่า


ชื่ออื่นๆ


แคขาว แคป่า แคนา


หมวดหมู่ทรัพยากร


ยังไม่ได้ระบุ


ลักษณะ


แค ป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ ใบย่อยรูปไข่รี หรือเรียวแหลมยาว โคนเบี้ยว ดอกคล้ายรูปแตร ปลายบาน 5 กลีบ ขอบใบหยักไปมา ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอด สีนวล กลิ่นหอม ฝักกลมยาวประมาณ 15-40 ซม. ช่อละ 3-4 ฝัก เมล็ดมีปีก เกิดตามริมน้ำ ลำธาร ป่าโปร่ง ท้องทุ่งนา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด



ประโยชน์


ดอก กินเป็นผัก ใช้ประกอบอาหารหรือลวกกินกับน้ำพริก ใบ ตำพอกบาดแผล ต้มเอาน้ำบ้วนปาก ดอก ขับเสมหะ ขับลม เปลือก แก้ท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด เมล็ด แก้ปวดประสาท แก้โรคชัก ราก แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต

ดอกแคทุ่ง มีรสขม จึงไม่มีใครเอามากินสดๆ โดยมาก นิยมนำมาลวกน้ำร้อน แล้วกินเป็นผัก คล้ายสะเดา ลวกดอกแคทุ่ง กินกับป่นปู ป่นปลา ป่นกบ ป่นอึ่ง แซบหลาย กินกับลาบ ก็อร่อยอย่าบอกใคร กินเล่นๆ ก็ขมเป็นตาหน่าย ดังนั้น อย่ากินเล่นๆ เด้อ... สิบอกให่

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

95.ดอกแคร


     แค ชื่อสามัญ Vegetable Humming Bird , Cork Wood Tree เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แคบ้าน” อีกทั้งยังมีแคฝรั่ง ซึ่งเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แคเป็นต้นไม้โบราณที่อยู่คู่ครัวของทุกท้องถิ่น แต่ละครัวมีวิธีการปรุงอาหารจากส่วนต่างๆ ของแคแตกต่างกันออกไป แต่อาหารที่รู้จักคุ้นเคยกันอย่างดีทุกครัวเรือน คือ “แกงส้มดอกแค”
ชื่อวิทยาศาสตร์ของแค คือ Sesbania grandiflora (L.) Pers. วงศ์ PaPilionaceae เป็นต้นไม้พื้นเมืองของ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประเภทไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 3-10 เมตร โตเร็วทั้งในที่แห้งและชุ่มชื้น มักขึ้นอยู่ตามป่าละเมาะ ตามหัวไร่ปลายนา และในบริเวณบ้าน

ลักษณะทั่วไป

แคเป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นต้นไม้เนื้ออ่อน ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทั้งดินเหนียวและดินปนทราย นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา ริมถนน และในบริเวณบ้าน หรือปลูกไว้เพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เพราะใบแคที่ผุแล้ว ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ส่วนที่นำมารับประทานได้ มียอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน และฝักอ่อน ออกในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกอ่อนจะออกในช่วงฤดูหนาว ดอกแค 100 กรัม หรือ 1 ขีด ให้พลังงานต่อร่างกาย 10 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี การรับประทานดอกแคจะทำให้ร่างกายได้เส้นใยอาหาร ดอกแค เมื่อแก่จนกลีบร่วง ก็จะมีฝักอ่อน นำมาทำอาหารได้ เมื่อแก่จะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตง่าย มีอายุไม่นาน ก็ยืนต้นตาย แพร่พันธุ์ด้วยฝักที่มีเมล็ดแก่จัด การนำดอกแคมาทำอาหารต้องเด็ดเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อนจะทำให้ไม่มีรสขม แคเป็นต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขามาก มีเปลือกลำต้นขรุขระสีเทา ดอกคล้ายดอกถั่ว ยาว 6-10 ซม. มีทั้งดอกสีขาวและสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือถ้วย ผลเป็นฝักแบน
ส่วนของแคที่นำมารับประทานนับได้ตั้งแต่ยอด อ่อน ใบอ่อน รสหวาน มัน มีมากในช่วงฤดูฝน นิยมต้มสุกแล้วราดหัวกะทิ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว แคก็ออกดอกอ่อนที่มีรสหวานออกขมเล็กน้อยให้ลิ้มรสและทำเป็นแกงส้ม แต่ต้องเป็นดอกแคสีขาว เพราะไม่มีเส้นใยมากให้ระคายปากเหมือนดอกสีแดง แกงส้มดอกแคที่อร่อยต้องใส่ปลาช่อน เพราะช่วงที่ดอกแคออกดอกจะเป็นช่วงที่ปลาช่อนมีเนื้อหวานมันเป็นพิเศษ พอถึงช่วงปลายฤดูหนาวก็เริ่มเก็บฝักอ่อนมารับประทานกันอีกครั้ง

สรรพคุณทางยา 

เปลือกนำมาต้ม คั้นน้ำแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด คุมธาตุ สรรพคุณทางยาของแคคือช่วยแก้ไข้ ลดไข้ นอกจากนี้ยังอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ แคจึงช่วยบำรุงสายตาและต้านมะเร็ง อีกทั้งช่วยเสริมสร้างกระดูก เพราะมีแคลเซียมฟอสฟอรัสสูง

ในยอดแคมีสารอาหารมากกว่าดอกแคเสียอีก เพราะยอดแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 87 แคลอรี มีเส้นใย 7.8 กรัม แคลเซียม 395 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 8,654 ไมโครกรัม วิตามินเอ 1,442 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.28 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.33 มิลลิกรัม ไนอาซีน 2.0 มิลลิกรัม วิตามิซี 19 มิลลิกรัม
ดอกแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 33 แคลอรี แคลเซียม 2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 57 มิลลิกรัม เหล็ก 1.2 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 0.51 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.19 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 35 มิลลิกรัม
ยอดอ่อนและใบอ่อนของแคขายกำละ 5 บาท เลือกใบสด ไม่ร่วง ดอกแคมักขายเป็นกองๆ ละ 5 บาทเช่นกัน ให้เลือกดอกตูมที่กำลังจะบาน ก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อน จะทำให้มีรสขมน้อยลง สำหรับฝักอ่อนค่อนข้างหาซื้อยาก ต้องปลูกต้นแคไว้ที่บ้านเองจึงจะได้รับประทานกัน

การประกอบอาหาร แกงส้มดอกแคปลาดุก ดอกแคสอดไส้ แกงเหลืองปลากระพงดอกแค

94.ต้นกล้วยป่า

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Musa acuminata Colla
วงศ์ : MUSAACEAE

กล้วยป่าเป็นพืชไม้เนื้ออ่อน มีต้นเทียมสูงประมาณ 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นมีนวลเล็กน้อย ใบ เดี่ยวรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 40-60 ซม. ยาว 2-3 ซม. ชูขึ้นค่อนข้างตรง ก้านใบสีชมพูอมแดงมักมีประ ดอกช่อ ออกเป็นช่อเอนคล้ายงวง ส่วนปลายเป็นปลี ทรงกระสวย ใบประดับรูปไข่กว้างค่อนข้างยาว โคนสีแดงจัด เมื่อเปิดจะม้วนงอออก ปลายแหลม ด้านบนสีม่วงอมแดง มีนวลด้านล่าง ติดผลตลอดปี ผล เป็นหวี ผลเดี่ยว รูปทรงกลม แกมขอบขนาน โคนผลมน ปลายผลสอบ โค้งงอเล็กน้อย ผลมีเนื้อบาง สีขาว รสหวาน ภายในมีเมล็ดมาก สีดำ ผนังหนา แข็ง การขยายพันธุ์ แยกหน่อ ประโยชน์ ใบใช้ห่อของ ผลอ่อนและหัวปลี ใช้ปรุงเป็นอาหาร เป็นอาหารของสัตว์ป่า พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบเขตร้อน ไทยจัดเป็นไม้เบิกน้ำที่ดีตามที่ชื้นชายป่าและหุบเขา

93.ต้นหาด

92.ต้นชะอม

91.ต้นพริก

พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L. ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน

ชนิดของพริก

พริกมีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง ประเทศไทยนั้นมักนิยมปลูกพริกอยู่ 2 ชนิดซึ่งได้แก่
  1. พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (ในกลุ่ม C. annuum)
  2. พริกเผ็ดได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ (ในกลุ่ม C. furtescens)

90.ต้นมะเขือ

89.ต้นพลูด่าง

88.ต้นขนุน

วิธีการปลูก
1 . ใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการทาบกิ่ง ติดตา หรือเสียบยอด
2. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
3. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม.
4. ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมให้สูง ประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
5. ยกถุงต้นพันธุ์วางในหลุมโดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
6. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปลายถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
7. ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
8. กลบดินที่เหลือลงในหลุม อย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
9. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
10. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดกันลมพัดโยก
11. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
12. รดน้ำให้ชุ่ม
13. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
14. แกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอด หรือรอยทาบ เมื่อปลูกไปแล้วประมาณ ครึ่งเดือน

ระยะปลูก
8 x 8 เมตร
จำนวนต้น/ไร่
ประมาณ 25 ต้น / ไร่

87.ต้นหอม

การปลูก
การเพาะปลูกต้นหอมนั้นทำได้ 2 วิธี คือ ใช้หัวปลูก หรือใช้เมล็ดหว่าน แต่การใช้เมล็ดจะประหยัดกว่า ใช้เวลาในการปลูก 45 วัน แต่ที่นิยมปลูกจะใช้หัวปลูกเพราะระยะเวลาการเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาประมาณ 30-32 วันต้องรดน้ำทั้งเช้าเย็น จนเมื่อต้นเริ่มมีใบยื่นยาว ลดน้ำลงเหลือเพียงวันละครั้ง เคล็ดลับปลูกต้นหอมให้งามอยู่ที่การคลุมดินให้คงความชื้นไว้ แต่ระบายน้ำได้ดี โดยการนำเอาฟางแห้ง หญ้าแห้ง เปลือกถั่วลิสง หรือแกลบดิน คลุมหน้าดินไว้ ต้นหอมโตเต็มที่สามารถนำมาใช้งานได้ สูงประมาณ 1 ฟุตกว่าๆ ก็ถอนมาได้เลยค่ะ ส่วนแมลงศัตรูตัวร้ายของต้นหอมคือ เพลี้ยไฟ ใช้แลนเนท 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แล้วฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง เพื่อป้องกัน หากเกิดเพลี้ยไฟ ก็ฉีดพ่น 3-4 วันครั้ง

หอมแบ่งเท่าที่บ้านผมปลูกนะจะมี 3 สายพันธ์ คือ1.พันธ์ที่มาจากนครพนม2.พันธ์ที่มาจากเชียงใหม่ (หอมเหนือ)3.พันธ์ที่มาอินโดนิเชีย

86.ต้นสัก


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ลำต้น : เป็นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ
  • ใบ : เป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ยาว 25 - 30 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่า นี้มาก ผิวใบขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด
  • ดอก  : มีขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง ออกดอกและเป็นผลเดือน มิถุนายน - ตุลาคม
  • ผล  : เป็นผลแห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด

 

85.ต้นมะละกอ


มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด
ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก

การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ

โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้

84.ต้นปิบ


ชื่อพื้นเมือง: กาซะลอง กาดซะลอง เต็กตองโพ่
ลักษณะทั่วไป: ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกสีนำตาล
ดอก: ดอกสีขาวหรือชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ดอก ออก ก.ย - พ.ย

83.ต้นเข็ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora chinensis lamk.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE

รากมีรสหวานใช้รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ ดอกแก้โรคตาแดง
ตาแฉะ ผลแก้โรคริดสีดวงในจมูก

ลักษณะทั่วไป


ต้น : เป็นไม้พุ่ม
ใบ : แข็ง หนา ดก สีเขียวแก่
ดอก: ออกเป็นช่อแบนใหญ่ ตามยอดของกิ่งและแขนง ดอกย่อยมีกลีบ 4-5 กลีบ
ผล: เป็นผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำเมล็ด

82.ต้นราชาวดี

  ราชาวดี

เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก การเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ทรงพุ่มโปร่ง กิ่ง, ก้าน เมื่อยังอ่อนจะมีขนละเอียดปกคลุม เมื่อกิ่งแก่ขนจะหลุดเอง สีของลำต้นเป็นสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ๆ ตามข้อ ผิวใบสากมือ ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ดอกจะทยอยบานตั้งแต่โคนช่อดอกถึงปลายช่อดอกใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
เป็น พันธุ์ไม้ปลูกได้กับพื้นที่ค่อนข้างแล้ง และไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน การรดน้ำสลับกับการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องเป็นวิธีการที่ทำให้ออกดอกในช่วงเวลา ที่เหมาะสมได้ อืมม …
ต้องการแสงแดดจัดตลอดวัน ควรปลูกกลางแจ้งจึงจะออกดอกได้ดี การปลูกในที่ร่มรำไรจะทำให้ลำต้นยืดยาวและไม่ค่อยออกดอก
ไม่ต้องการน้ำมาก ควรปลูกในพื้นที่ดอนไม่มีน้ำท่วมขัง การให้น้ำในปริมาณมากอาจทำให้เน่าตายได้
ปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในดินร่วนปนทราย
เป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่มีทรงพุ่มที่แน่นอน ต้องคอยตัดแต่งทุกครั้งภายหลังการออกดอก จึงจะได้ทรงพุ่มในแบบที่ต้องการ
และที่สำคัญ ส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

81.ต้นวาสนา

ลักษณะทั่วไปของวาสนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena Fragrans Massangeana
วงศ์ Aqavaceae (aqave)
ถิ่นกำเนิด เอธิโอเปีย ไนจีเรีย กินี
แสงแดด แดดจัด
อุณหภูมิ 18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำมาก
อัตราการคายความชื้น ปานกลางถึงมาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก

วาสนาอธิษฐานเป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 5–6 เมตร ชอบแสงแดดจัด แต่ก็เป็นที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร เนื่องจากรูปทรงที่สวยแปลกตาและคงทนอยู่ได้แม้ในที่มีแสงสว่างน้อย วาสนาอธิษฐานมีลำต้นตั้งตรง มีสีน้ำตาลอ่อน ใบแตกจากหน่อที่ปลายลำต้น เป็นใบเดี่ยวลักษณะเรียวยาว ปลายแหลมโคนสอบเข้าหาใบซึ่งเป็นกาบติดกับลำต้น พื้นใบมีสีเขียวมีลายสีเหลืองพาดกลางไปตามความยาวของใบ ใบอ่อนจะแตกตรงส่วนยอดของต้น ดอกออกเป็นช่อสีเหลือง กลิ่นหอมส่งกลิ่นไปได้ไกล นิยมนำลำต้นของวาสนาอธิษฐานมาตัดเป็นท่อนๆ ยาว 6–8 นิ้วแล้วตั้งในถาดตื้น หล่อน้ำไว้นำไปตั้งประดับดูสวยงาม วาสนาอธิษฐาน เป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่ดูดสารพิษภายในอาคารจำพวก ฟอร์มาดีไฮด์ ได้มีประสิทธิภาพ

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

80.ต้นรางจืด

 

ด้วยสรรพคุณดังกล่าว การดื่มชารางจืดในช่วงอากาศร้อนในเดือนเมษายนเป็นประจำ ก็เป็นการช่วยระบายคามร้อนออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้รางจืดในวงเหล้าว่า ถ้านำต้นรางจืดมาเคี้ยวสดๆ จะช่วยดับฤทธิ์แอลกอฮอล์ และทำให้นั่งดื่มสุราได้นานกว่าจะเมานั้น ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยมาก่อน และไม่มีคำแนะนำให้ปฏิบัติตามด้วย เพราะสุดท้ายเมื่อเหล้าเข้าสู่ร่างกาย ก็จะไปทำลายอวัยวะที่เป็นทางผ่านทั้งหมดและทำลายที่ตับ ทำให้ตับทำงานหนัก ตับจึงได้รับพิษจากเหล้ามากที่สุด เซลล์ตับที่ถูกทำลายจะมีไขมันไปเกาะแทนที่ ทำให้เกิดตับอักเสบเนื่องจากการคั่งของไขมัน เซลล์ตับจึงถูกทำลายมากขึ้นไปอีก และเมื่อเซลล์ตับตายลงถึงระดับหนึ่ง จะมีพังผืดลักษณะคล้ายแผลเป็นไปขึ้นที่บริเวณนั้น ส่งผลให้เนื้อตับที่เคยอ่อนนุ่มกลับแข็งตัวขึ้น เกิดอาการตับแข็งและทำให้มีอายุสั้นในที่สุด

79.ต้นเข็ม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora chinensis lamk.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
รากมีรสหวานใช้รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ ดอกแก้โรคตาแดง
ตาแฉะ ผลแก้โรคริดสีดวงในจมูก

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นไม้พุ่ม
ใบ : แข็ง หนา ดก สีเขียวแก่
ดอก: ออกเป็นช่อแบนใหญ่ ตามยอดของกิ่งและแขนง ดอกย่อยมีกลีบ 4-5 กลีบ
ผล: เป็นผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำเมล็ด


      ต้นเข็ม เป็นต้นไม้ที่ชาวไทยต่างรู้จักกันดี เพราะเรามักจะพบเห็นอยู่เสมอในวันไหว้ครู หรือมักจะนำมาถวายพระ เรามักจะเปรียบเทียบความแหลมว่า เหมือนกับเข็ม คนไทยโบราณจึงเชื่อว่า ควรจะนำดอกเข็มมาจัดพานไหว้ครู เพื่อที่ลูกศิษย์ลูกหา จะได้มีความเฉลียวฉลาดมีปัญญาเฉียบแหลม ราวกับเข็มนั่นเอง นอกจากนี้ ดอกเข็มยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น นำไปถวายพระ หรือนำมาใช้ ในพิธีทางศาสนา ก็จะเพิ่มความเป็นสิริมงคลของพิธียิ่งขึ้น
คนโบราณจึงเชื่อว่า หากครอบครัวใด ปลูกต้นเข็มเอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะช่วยให้สติปัญญา ของสมาชิกภายในครอบครัวดีเลิศ มีความเฉลียวฉลาดหลักแหลมเสมอไป

78.หม่อน

ชาใบหม่อน รักษาเบาหวาน ความดัน ไขมัน

ใบ หม่อน วิธีการที่ดีสำหรับการทำชาใบหม่อน คือการเด็ดใบควรเก็บในตอนเช้าหรือตอนเย็น โดยเลือกเก็บใบที่ไม่เป็นโรค เด็ดจากใบล่างสู่ใบบน เว้นยอดอ่อนไว้ เก็บใบได้ประมาณเดือนละครั้ง

77.ต้นแมงลัก


ใบแมงลัก แกงเลียงก็ขาดใบแมงลักไม่ได้ ใบแมงลักมีกลิ่นหอมพิเศษ หอมโปร่งจมูก ให้เบต้า-แคโรทีนที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด มีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยย่อยอาหาร

76.ต้นข่อย

ข่อย ต้อนข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.

ชื่อสามัญ : Siamese rough bush, Tooth brush tree

วงศ์ : Moraceae

ชื่ออื่น : ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี) กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ส้มพอ (เลย)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งก้านคดงอ เปลือกต้นบาง ขรุขระเล็กน้อย สีเทาอมเขียว มียางสีขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียว สากมือ เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ดอก ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ดอกย่อยเล็กมาก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้รวมกันเป็นช่อกลม ก้านดอกสั้น ดอกเพศเมียช่อหนึ่งมีดอกย่อย 2 ดอก ก้านดอกยาว ผล รูปทรงกลม ผลมีเนื้อ ผนังผลชั้นในแข็ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองใส เมล็ดเดี่ยว แข็ง กลม
ส่วนที่ใช้ : กิ่งสด เปลือก เปลือกต้น เมล็ด ราก ใบ

75. ฤาษีผสม

ฤาษีผสม พรรณไม้ที่มีความสวยงามหลากหลายสีสัน
ปลูกง่าย ดูแลง่าย เจริญเติบโตเร็ว
ปลูกได้กับดินทั่วไป ชอบแดดแบบบ้านเรา
จะมีสีสันสดใสเมื่อได้รับแสงแดดจัด
ปลูกเป็นไม้ประดับ ตัดแต่งทรงได้



... ฤาษีผสม

  ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Coleus
  ชื่อวงศ์ : Labiatae
  ชื่อสามัญ :  Painted nettle,  Flame nettle
  ชื่อพื้นเมือง : ฤาษีผสมแล้ว

74.ต้นแก้ว

73.ออมทอง

ออมเงินออมทอง
มงคล
ต้นออมเงิน ออมทองนี้ เป็นต้นไม้ที่เหมาะสำหรับปลูก ในยุคที่เศรษฐกิจทางการเงินกำลังซบเซาอย่างนี้
ต้นไม้ชนิดนี้นั้น มีชื่อที่เป็นมงคล การออมเงิน ออมทอง ก็คือการเก็บหอมรอบริบ การสะสมเงินทอง หรือการมัธยัสถ์รู้จักใช้จ่ายเงินทอง ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เพราะถ้าทำอย่างนั้นคงจะต้องนั่งเสียใจภายหลังอย่างแน่นอน
คนโบราณเชื่อว่า หากปลูกต้นออมเงิน ออมทอง เอาไว้ในบริเวณบ้าน ก็จะทำให้สมาชิกภายในบ้าน รู้จักการใช้กินอย่างประหยัด จึงมีเงินทองเก็บออมเอาไว้มากมาย สามารถเก็บเงินได้อยู่ และเงินทองก็ไม่รั่วไหลอีกด้วย




เคล็ดปฏิบัติ
ต้นออมเงิน ออมทองนั้น เหมาะกับการปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเชื่อกันว่า จะช่วยเพิ่มพลังความเป็นสิริมงคลได้ มากกว่าการปลูกในทิศทางอื่น
ควรจะลงมือปลูกต้นไม้ชนิดนี้ในวันอังคาร เพราะคนโบราณเชื่อว่า ต้นไม้ที่มีใบสวยงามเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนั้น ควรปลูกในวันอังคาร จึงจะได้ต้นไม้ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีใบสีสวยไว้ให้เชยชม และเสริมโชคชะตา

72.ต้นออมเงิน


ออมเงินออมทอง
มงคล
ต้นออมเงิน ออมทองนี้ เป็นต้นไม้ที่เหมาะสำหรับปลูก ในยุคที่เศรษฐกิจทางการเงินกำลังซบเซาอย่างนี้
ต้นไม้ชนิดนี้นั้น มีชื่อที่เป็นมงคล การออมเงิน ออมทอง ก็คือการเก็บหอมรอบริบ การสะสมเงินทอง หรือการมัธยัสถ์รู้จักใช้จ่ายเงินทอง ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เพราะถ้าทำอย่างนั้นคงจะต้องนั่งเสียใจภายหลังอย่างแน่นอน
คนโบราณเชื่อว่า หากปลูกต้นออมเงิน ออมทอง เอาไว้ในบริเวณบ้าน ก็จะทำให้สมาชิกภายในบ้าน รู้จักการใช้กินอย่างประหยัด จึงมีเงินทองเก็บออมเอาไว้มากมาย สามารถเก็บเงินได้อยู่ และเงินทองก็ไม่รั่วไหลอีกด้วย




เคล็ดปฏิบัติ
ต้นออมเงิน ออมทองนั้น เหมาะกับการปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเชื่อกันว่า จะช่วยเพิ่มพลังความเป็นสิริมงคลได้ มากกว่าการปลูกในทิศทางอื่น
ควรจะลงมือปลูกต้นไม้ชนิดนี้ในวันอังคาร เพราะคนโบราณเชื่อว่า ต้นไม้ที่มีใบสวยงามเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนั้น ควรปลูกในวันอังคาร จึงจะได้ต้นไม้ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีใบสีสวยไว้ให้เชยชม และเสริมโชคชะตา

71.ต้นทองราง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenocallis littoralos Salosb cv.variegata

วงศ์ AMARYLLIDACEAE

ชื่อท้องถิ่น “รางทอง” เฉยๆ หรือบางทีก็เรียกซะเต็มยศว่า “ว่านสี่ทิศรางทอง” สุดแล้วแต่ว่าใครจะเรียกว่าอะไร แต่ขอให้มี “รางทอง” ในนั้นเป็นใช้ได้

70.ต้นสาวน้อยประแป้ง

ชื่อสามัญ Dumb Cane

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dieffenbachia

วงศ์ Araceae

ชื่ออื่นๆ ช้างเผือก ว่านพญาค่าง ว่านหมื่นปี อ้ายใบก้านขาว

ลักษณะโดยทั่วไป

สาวน้อยประแป้ง เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีลักษณะคล้ายพืชในตระกูลเขียวหมื่นปี แต่ใหญ่กว่า ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนกลม ตั้งตรงแข็งแรง มีข้อถี่ แตกใบอ่อนตรงส่วนยอดของลำต้นทีละใบ ก้านใบยาว ส่วนที่ติดกับลำต้นมีลักษณะเป็นกาบ ใบมีรูปร่างยาวเรียวคล้ายใบพาย โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม บางชนิดแหลมเกือบมน พื้นใบมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม ด่างสีขาว ครีม หรือเหลือง หรือมีจุดแต้มบนพื้นใบต่างกันไป ดอกของสาวน้อยประแป้งมีลักษณะคล้ายดอกหน้าวัว มีกาบอยู่เพียงกาบเดียวหุ้มแท่งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยเกสรตัวผู้อยู่ส่วนบน และเกสรตัวเมียอยู่ส่วนล่าง ออกดอกเป็นกลุ่มส่วนมากมีสีเขียวอ่อน เวลาบานกาบจะแย้มออกเล็กน้อย ดอกของสาวน้อยประแป้งบางชนิดมีกลิ่นเหม็นมาก ยางของสาวน้อยประแป้งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้คันมาก ถ้าเข้าปากจะทำให้ลิ้นบวมและขากรรไกรแข็ง หากกินเข้าไปอาจทำให้ตายได้

การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา

สาวน้อยประแป้ง เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงดูแลรักษาง่าย ต้องการแสงแดดหรือแสงสว่างมากแต่ก็สามารถเจริญงอกงามได้ดีในที่มีแสงแดดรำไร แต่ถ้าให้ถูกแสงแดดโดยตรงจะทำให้ใบไหม้ได้ หากได้รับแสงเพียงด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้ต้นเอียงไปทางด้านที่มีแสงมากกว่า ชอบสภาพดินฟ้าอากาศที่มีความชื้นสูง แต่บางชนิดก็สามารถปรับตัวให้อยู่ในที่มีความชื้นในอากาศปานกลางได้ สำหรับดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินที่มีส่วนผสมของอินทรียวัตถุ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ระบายอากาศ ระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขังแฉะหรือแห้งเร็วเกินไป ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 10-10-10, 15-15-15 ในปริมาณน้อยๆ หรืออาจใช้ปุ๋ยละลายช้าเพื่อค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่ต้นก็ได้

การขยายพันธุ์

การแยกหน่อ เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลรวดเร็ว แต่ใช้ได้กับต้นที่มีหน่อเท่านั้น โดยตัดหน่อใหม่ที่มีใบ 2-3 ใบและที่โคนหน่อมีรากแล้ว ทารอยตัดด้วยปูนแดงรอให้แห้ง ก็สามารถนำไปปลูกได้ทันที

การ ปักชำยอด วิธีนี้มักใช้กับต้นที่มีขนาดใหญ่สูงชลูดขาดความสวยงามโดยตัดยอดให้มีความ ยาวพอสมควรไม่สั้นหรือยาวเกินไปและตัดให้รอยตัดชิดกับข้อต้นมากที่สุด ทาปูนแดงที่รอยตัดทั้งสอง ลอกใบของยอดชำออกให้เหลือแต่ใบส่วนยอดประมาณ 4-5 ใบนำไปปักชำในขุยมะพร้าวผสมขี้เถ้าแกลบหรือขุยมะพร้าวผสมทรายหยาบ วางไว้ในที่ร่ม รดน้ำและรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอ ประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะเกิดรากจึงสามารถย้ายปลูกลงดินได้ต่อไป

การตอนยอด วิธีนี้มักใช้กับต้นที่มีขนาดใหญ่สูงชะลูดเช่นเดียวกับการปักชำยอด โดยลอกใบด้านล่างของยอดให้เหลือยอดพอสวย ใช้มีดที่คมและสะอาด กรีดเป็นรอยตามความยาวของต้นลึกประมาณ 0.5 ซ.ม. บริเวณข้อต้นที่จะตอน 4-6 รอย หุ้มด้วยถุงพลาสติกมัดให้แน่น ประมาณ 3-4 สัปดาห์รากจะงอก จึงตัดนำไปปลูกต่อไป

การชำข้อและลำต้น เป็นวิธีที่ง่ายและทำให้ได้ต้นใหม่จำนวนมาก ทำได้โดยตัดส่วนของข้อหรือลำต้นเป็นท่อนๆ ยาว 5-7 ซ.ม. โดยให้มีส่วนของตา
ติดมาด้วยทุกท่อน แช่ด้วยน้ำผสมยากันเชื้อราหรือทาด้วยปูนแดงทิ้งไว้ให้แห้ง นำไปชำในขี้เถ้าแกลบผสมขุยมะพร้าวในอัตราส่วนเท่าๆ กันดยฝังให้จมลงประมาณสองในสามส่วนของลำต้นตามแนวนอนและวางให้ตาที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ด้านบน ประมาณ 45-60 วัน รากจะงอก เมื่อใบขึ้นมา 2-3 ใบจึงย้ายปลูกได้

69.ต้นเฟิร์นใบมะขาม


เฟิร์นใบมะขาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephrolepis cordifolia ( L. ) Presl
ชื่อวงศ์ : OLEANDRACEAE
ชื่อสามัญ : Fishtail Sword Fern
ชื่อพื้นเมือง : เฟิร์นใบมะขาม
ลักษณะ : รูปทรงแตกกอกลม ความสูง 0.3 – 0.6 เมตร ขนาดทรงพุ่ม0.3 – 0.8 เมตร ผิวสัมผัสปานกลาง ลำต้นสีน้ำตาล ใบสีเขียวลักษณะต่างๆกัน

ลักษณะทั่วไป
ต้น - มีเหง้าตั้งตรง มีไหล ( stolon ) มีเกล็ดรูปโล่
ใบ - ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวหรือสองชั้น ใบอ่อนม้วนงอ ก้านใบมีรอยต่อ
ประโยชน์ : ไม้ใบประดับ


68.ต้นเฟิร์น

การระบายน้ำและอากาศในเครื่องปลูก
ควรหมั่นสังเกตุ เครื่องปลูกในกระถาง หากรดน้ำแล้ว น้ำระบายออกไม่หมดในทันที หรือเครื่องปลูกจับตัวเป็นก้อนอับแน่น ทำให้น้ำและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก หากเป็นเช่นนี้ เป็นอันตรายต่อรากเฟิน จะทำให้โรคเน่าเข้ารุมทำร้านเฟินได้ง่าย ควรถอดกระถางออกมา สลัดดินปลูกเดิมออกไปให้หมดหรือเกือบหมด แล้วเครื่องปลูกใหม่
เฟินบางกระถางที่ปลูกมานานแล้วก่อนหน้าเคยงามมาตลอด หากระยะหลังๆ เริ่มมีปัญหา ให้ลองสำรวจสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และควรดูที่เครื่องปลูกด้วย หากเปื่ยยยุ่ย เสื่อมสภาพ อมน้ำมากไป จนทำใหรากเฟินอับแน่นหายใจไม่ออก ควรรื้อเครื่องปลูกเปลี่ยนใหม่เช่นกันอีกอย่าง การวางประถางในจานรองหล่อน้ำ แม้จะช่วยให้น้ำและความชื้นกับต้นไม้ได้ดี แต่ก็มีข้อเสียในเรื่องการถ่ายเทอากาศที่ก้นกระถาง ควรหาก้อนอิฐ หรือกรวดในจานรองก่อน สูงพอที่จะไม่ให้ก้นกระถางจมน้ำในจานรอง


รากเฟินที่แน่นคับกระถาง
เฟินที่ปลูกไปสักระยะหนึ่ง เมื่อรากแน่นกระถาง จนโผล่ออกมาจากก้นกระถาง การเจริญเติบโดช้าลง ใบล่างเหลืองและเหี่ยวเฉาง่าย อาการดังกล่าวควรถอดกระถาง ตัดแต่งก้านและรากหรือเหง้าที่หมดอายุออกไปเสียบ้าง หากกอมีขนาดใหญ่เกินควรผ่าแบ่งกอหรือตัดเอาเหง้าออกไปแบ่งปลูกในกระถางใหม่ บ้าง

67.ต้นใบทอง


                         ชื่อสามัญ  Gold  Leaves 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Graphtophyllun pictum
ตระกูล ACANTHACEAE
ชื่ออื่น ทองนพคุณ



ลักษณะทั่วไป
ใบทองเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กลักษณะเป็นพุ่มขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ2-4 เมตรการแตกกิ่งก้านสาขาออก
จากโคนต้นและเจริญพุ่งตรงขึ้นไปข้างบนลำต้นกลมเล็กมีสีขาวปนเทาใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ๆสลับกันตามข้อของลำ
ต้นหรือกิ่งก้าน ลักษณะใบคล้ายรูปหอกปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบมีสีเหลืองอ่อน
ขอบใบจะมีรอยด่างเป็นสีเหลือง ขนาดใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อสั้น
ออกตามส่วนยอดของลำต้น ลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร โคนหลอดจะมีกลีบดอก 3 กลีบ ดอกมีสีม่วง




การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นใบทองไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองเพราะเป็นไม้มงคลนามนอกจากนี้คนไทย
โบราณได้นำใบเงินใบทองมาประกอบพิธีสำคัญทางศาสนาเช่นการทำน้ำพุทธมนต์การขึ้นบ้านใหม่ดังนั้นคนไทยโบราณ
จึงเชื่อว่า ต้นใบทองเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์



ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นใบทองไว้ทางทิศตะวันออกหรือทิศใต้ก็ได้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้
เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นนั้น ควรปลูกต้นใบเงิน ใบทอง ใบนาก ไว้บริเวณเดียวกันหรือใกล้กันก็จะดียิ่งนัก



การปลูก
การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางสูงขนาด 10-14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ :
ดินร่วน อัตรา1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง1-2 ปี/ครั้งเพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและเพื่อเปลี่ยนดิน
ปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกไว้บริเวณสวน เพราะจะได้เป็นเสน่ห์แก่บ้าน
ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดินปลูก

66.ต้นใบเงินเต็ม

ชื่อไม้มงคลที่คุ้นหู แต่หน้าตาเป็นอย่างไร ถกเถียงกันไม่จบ ผมเลยค้นเอามาฝาก คิดว่าเป็นความรู้ ส่วนความเชื่ออยู่ที่ท่านเอง

ไม้มงคล ใช้ประกอบพิธีต่างๆ
ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ฟังแค่ชื่อ ก็พอจะทราบบ้างแล้วว่า ไม้ชนิดนี้ต้องให้โชคลาภ ทางด้านทรัพย์สินเงินทองอย่างแน่นอน
ต้นไม้ทั้งสามชนิดนี้ ถือได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะคนโบราณมักจะนำใบไม้ทั้งสามชนิด ประกอบพิธีสำคัญทางศาสนาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการทำน้ำพุทธมนต์หรือการขึ้นบ้านใหม่
ดังนั้นจึงมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า หากบ้านใดปลูก ใบเงินเต็ม เอาไว้ภายในบ้าน ก็จะช่วยให้ครอบครัวนั้น มีโชคลาภ อยู่เสมอ จนมีฐานะร่ำรวยขึ้น เพราะมีเงินทองมากเหมือนใบไม้นั่นเอง
และยังเชื่อกันอีกว่า การปลูกต้นใบเงินเต็ม

65.ต้นใบเงิน

ชื่อสามัญ : Caricature Plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grapthophyllun pictum

ตระกูล : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : ทองคำขาว

ลักษณะทั่วไป : ใบเงินเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งสาขาออกจากโคนต้นและเจริญพุ่งตรงไปข้างบน ลำต้นกลมเล็ก สีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ๆ สลับกันตามลำต้น ใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลมขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดใบกว้างประมาณ3-6 เซนติเมตรยาวประมาณ7-10 เซนติเมตรพื้นใบสีเขียวกลางใบปนด้วยสีขาวหรือเหลืองจาง ๆ ออกดอกเป็นช่อ ตามส่วนยอดของลำต้น ลักษณะดอกเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร โคนหลอดจะมีกลีบดอก 3 กลีบ ดอกมีสีแดงเข้ม

การเป็นมงคล : คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นใบเงินไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองเพราะ เป็นไม้มงคลนามนอกจากนี้คนไทยโบราณได้นำ ใบเงินใบทองมาประกอบพิธีสำคัญทางศาสนา เช่น การทำน้ำพุทธมนต์ การขึ้นบ้านใหม่ ดังนั้นคนไทยโบราณจึงเชื่อว่า ต้นใบเงินเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก : เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นใบเงินไว้ทางทิศตะวันออกหรือ ทิศใต้ก็ได้ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคารเพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อ เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบ ให้ปลูกในวันอังคาร ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นนั้นควรปลูกต้นใบเงิน ใบทอง ใบนาก ไว้บริเวณเดียวกันหรือใกล้กันก็จะดียิ่งนัก

การปลูก : การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี

64.ต้นโป๊ยเสียน


ชื่อสามัญ Crow of Thorns

ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia millii.

วงศ์ EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่นๆ

ระวิงระไว พระเจ้ารอบโลก ว่านเข็มพญาอินทร์ (เชียงใหม่) ไม้รับแขก (ภาคกลาง) ว่านมุงเมือง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะโดยทั่วไป

โป๊ยเซียนเป็นไม้อวบน้ำที่มียางและหนามบริเวณลำต้น ทรงต้นเป็นทรงพุ่ม มีอายุยืนนับสิบปี เป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศเนื่องจากสามารถสะสมน้ำไว้ตามลำต้นและใบ จึงทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

การขยายพันธุ์

การปักชำ การเสียบยอด การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำและการเสียบยอด

การปลูก

การปลูกมี 2 วิธี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน เหมาะสำหรับใช้เป็นไม้ดอกประดับภายนอก ขนาดกระถางปลูก 8-12 นิ้ว ควรเป็นกระถางทรงสูง ใช้ดินร่วน : แกลบผุ : เปลือกถั่ว หรือไบไม้ผุ อัตรา 1 : 1 : 2 ผสมดินปลูกและควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง เพื่อการเปลี่ยนดินปลูกใหม่แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมปลูกไว้ใกล้ๆกับบ้านเพราะ มีเวลาดูแลรักษาที่ใกล้ชิดจะทำให้เกิดดอกที่สวยงาม ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 2: 1 ผสมดินปลูก


63.ต้นโมก


โมก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia religiosa Benth.) เป็นดอกไม้ มีลักษณะดอกเป็นช่อสีขาว มี 3-5 กลีบ ใบมีขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เนื้อใบบางรูปรี หรือรูปหอกกว้าง 0.8-2.0 ทำการขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือ เพาะเมล็ด

โมกยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้ ปิดจงวา (เขมร สุรินทร์) โมกซ้อน (กลาง) โมกบ้าน (กลาง) และ หลักป่า (ระยอง)[1]


ลักษณะทั่วไป

โมกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีนำตาลดำ ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็ก ๆสีขาวประทั่วต้น แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้นไม่เป็นระเบียบใบเป็นใบเดียวออกเรียงกันเป็นคู่ ตามก้านใบลักษณะใบ เป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ลักษณะดอกจะคว่ำหน้าลงสู่พื้นดินมีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่มีขนาด ประมาณ 2 เซนติเมตร ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกจะออกมาเป็นคู่ ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน ภายในมีขี้เรียงอยู่จำนวนมาก ขนาดความยาวของฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร

การปลูก

การปลูกมี 2 วิธี

  • การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก
  • การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก :ขุยมะพร้าว:ดินร่วนอัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางบ้างแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มและการเจริญ เติบโตของทรงพุ่ม และควรเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เหสื่อมสภาพไป

การดูแลรักษา

  • แสง ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
  • น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
  • ดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง
  • ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธุ์

การตอน การเพาะเมล็ด การปักชำ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด การปักชำ

โรคและศัตรู

ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร

62.ใบบัวบก

ใบบัวบก

ใบบัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน แต่มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว ซึ่งรู้จักกันดีว่าน้ำใบบัวบกช่วยแก้ช้ำใน และยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกมาก ในบัวบกประกอบด้วยสารสำคัญหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น ไตรเตอพีนอยด์ (อะซิเอติโคไซ) บราโมไซ บรามิโนไซ มาดิแคสโซไซ(เป็นไกลโคไซด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ) กรดมาดิแคสซิค ไทอะมิน(วิตามินบี 1) ไรโบฟลาวิน(วิตามินบี2) ไพริดอกซิน(วิตามินบี6) วิตามินเค แอสพาเรต กลูตาเมต ซีริน ทรีโอนีน อลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม

สารไตรเตอพีนอยด์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างคอลลาเจน(ซึ่งเปรียบเสมือนร่างแหที่ประกอบ กันเป็นโครงสร้างหลักของเซลล์ในส่วนต่างๆของร่างกาย และยังเป็นผนังที่หุ้มล้อมรอบหลอดเลือดอีกด้วย) ดังนั้นใบบัวบกจึงสามารถลดความดันเลือดได้เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เส้นเลือด ใบบัวบกจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นเบาหวานเพราะจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนผ่านเส้นเลือดฝอย การแลกเปลี่ยนออกซิเจนผ่านเส้นเลือดฝอย จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบวม เส้นประสาทเสื่อม เหน็บชา แขนขาอ่อนแรง นอกจากนี้ใบบัวบกทำให้ผิวหนังเต่งตึงและมีความยืดหยุ่นขึ้น ตลอดจนช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นและช่วยในขบวนการหายของแผล เนื่องจากใบบัวบกจะควบคุมไม่ให้เกิดการสร้างคอลลาเจนบริเวณแผลมากจนเกินไป ดังนั้นจึงนิยมนำใบบัวบกไปใช้ในการรักษาแผลต่างๆอาทิเช่น แผลผ่าตัด การปลูกถ่ายผิวหนัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง หรือแม้แต่แผลจากโรคเรื้อน

จากการศึกษาผลการใช้ใบบัวบกเพื่อรักษาโรคเรื้อนและวัณโรคที่ผิวหนัง พบว่าสารอะซิเอติโคไซในใบบัวบกสามารถทำลายสารเคลือบผิวที่หุ้มแบคทีเรีย(ปกติภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำลายสารเคลือบผิวตัวนี้ได้) ทำให้ภูมิคุ้มกันเข้าไปจัดการกับเชื้อแบคทีเรียได้โดยตรง

ใบบัวบกจะช่วยลดขนาดของเส้นเลือดขอด เนื่องจากใบบัวบกจะทำให้คอลลาเจนที่หุ้มรอบเส้นเลือดดำยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนผ่านเส้นเลือดดำเป็นไปได้สะดวกขึ้น

การรับประทานใบบัวบก ไม่ว่าจะเป็นการทานสด เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือคั้นน้ำ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากความกังวลและความเครียดได้ เนื่องจากในใบบัวบกประอบด้วยวิตามินบี1,บี2 และบี6 ในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายหลั่ง GABA (gamma-aminobutyric acid) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในปริมาณที่มากขึ้นด้วย จากการศึกษายังพบว่า การรับประทานใบบัวบกจะทำให้คุณสามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ความจำดีขึ้น และใบบัวบกยังช่วยกำจัดสารพิษซึ่งสะสมในสมองและระบบประสาท ตลอดจนช่วยกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกายประเภทโลหะหนักและยาต่างๆได้เป็นอย่างดี

จากอดีตที่ผ่านมีการใช้ใบบัวบกเพื่อรักษาความผิดปกติที่ตับและไต เช่น ตับอักเสบ โรคตับที่เกิดจากการดื่มสุรา ข้ออักเสบ รูมาไทติส รำมะนาด(เหงือกอักเสบ) และจากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้พบว่าในใบบัวบกยังมีสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย จะเห็นว่าผักธรรมดาที่คุณรู้จักกันมานานแล้ว แต่อาจจะมองข้ามไปนั้นมีคุณประโยชน์มากมายไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว

61.ต้นแดง

ชื่อพันธุ์ไม้

แดง

ชื่อสามัญ

Iron Wood

ชื่อวิทยาศาสตร์

Xylia sylocarpa Var. kerrii (Craib & Hutch.) I. Nielsen

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กร้อม (ชาวบน-นครราชศรีมา), ไคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), คว้าย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะลาน จาลาน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), แดง (ทั่วไป), ตะกร้อม (ชอง-จันทบุรี), ปราน (ส่วย-สุรินทร์) ไปรน์ (ศรีษะเกษ), ผ้าน (ละว้า-เชียงใหม่), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก), สะกรอม (เขมร-จันทบุรี)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้น สูง 15–30 เมตร กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีเหลือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ประกอบด้วย 2 ช่อ ใบแตกออกเป็น 2 ง่าม ใบย่อย 4–5 คู่รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อทรงกลมคล้ายดอกกระถิน ที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นฝักรูปไต แบน แข็ง

ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

สภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดด

ถิ่นกำเนิด

เป็นไม้หลักของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งทั่วๆ ไป

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

60.ผักโหระพา

โหระพาเป็นพืชที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้น มีความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก้านใบและลำต้นมีสีม่วงแดง ใบสีเขียว ใบเป็นรูปหอกยาวประมาณ 1-3 นิ้ว มีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นชั้นคล้ายฉัตร ดอกสีขาว ม่วงหรือชมพู โหระพาสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่มีความชื้นสม่ำเสมอ ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวันและสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

โหระพาที่ปลูกกันทั่วไปในประเทศไทยส่วนมากเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกต่อๆ กันมา โดยเก็บเมล็ดพันธุ์เอง และต่อมาบางที่เกิดจากการกลายพันธุ์ไปแต่ก็ยังไม่มีการแบ่งแยกเป็นแต่ละพันธุ์อย่างชัดเจน สาเหตุเพราะการปลูกเป็นการค้าที่ยังไม่แพร่หลายเท่าใดนัก เนื่องจากปริมาณความต้องการยังมีจำกัด มีการซื้อขายกันจำนวนมากๆ เฉพาะในเมืองใหญ่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีบริษัทเอกชนคือ บริษัท อีสท์เวสท์ซีด จำกัด ได้พัฒนาสายพันธุ์โหระพาขึ้นมา ได้แก่ พันธุ์โหระพา จัมโบ้ (4320) ซึ่งมีลักษณะใบใหญ่ ใบสีเขียวสดใส มีกลิ่นหอม โตเร็ว ต้นแข็งแรง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด และปลูกได้ตลอดปี

การเลือกพื้นที่ โหระพาเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้ 1-2 ปี การเลือกพื้นที่ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ ดินควรมีความร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์ดี มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำและสามารถนำน้ำมารดได้สะดวก อยู่ใกล้ที่พักอาศัยและการคมนาคมสะดวก

การเตรียมดิน โหระพาเป็นพืชที่มีระบบรากลึกปานกลาง การเตรียมดินควรขุดหรือไถดินลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน ไถพรวนคราด ย่อยดินให้ละเอียด เก็บเศษวัชพืชออกให้หมด หลังจากนั้นยกแปลงสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสมเว้นช่องว่างระหว่างแปลงประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อยกแปลงเสร็จแล้วใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วอัตรา 800 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 500 กรัมต่อตารางเมตร โรยให้ทั่วแปลง และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านให้กระจายทั่วแปลง คลุกเคล้าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมีให้เข้ากันกับดินพร้อมที่จะปลูก

วิธีปลูก การปลูกโหระพาควรกระทำในตอนเย็น วิธีการปลูกที่นิยมมี 2 วิธีด้วยกัน คือ

1. การเพาะกล้าย้ายปลูก โดยการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลงแล้วใช้แกลบสด แกลบเผาหรือฟาง หว่านหรือคลุมบางๆ แล้วรดน้ำตามทันที หลังจากนั้น รดน้ำทุกวันเช้าและเย็น จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 20-25 วัน จึงทำการย้ายปลูก โดยการถอนกล้าแล้วเด็ดยอดนำไปปลูกในแปลง โดยใช้ระยะปลูก 20x20 เซนติเมตร เมื่อถอนกล้าออกจากแปลงแล้วจะต้องปลูกให้เสร็จภายในวันเดียวกัน หลังจากปลูกเสร็จควรหาฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุมเพื่อเก็บความชื้นและรดน้ำตามทันที

2. การปักชำ โดยตัดกิ่งที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แล้วปลิดใบออกให้หมดนำไปปักชำในแปลง โดยใช้ระยะปลูก 20x20 เซนติเมตร ใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งสะอาดคลุมให้ทั่วแปลง และรดน้ำตามทันที