![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhrQOwDU9PGOsWoZhDIYh1njJR09JPh-Bmf8r7PbWgY3l2n_op5vqTR_sIjsE4_KjDP52f3Hol2crczYu1JkbfFugJDyZD2tRbms_n3D6grDiGT3GqAtgY2918nIguIGWDsELEi0V3M9KI/s320/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99.jpg)
กระท้อน เป็นไม้ผลเขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลกระท้อนมีสีสะดุดตา เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15 - 30 เมตร เปลือกต้นสีเทามี
ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีแกมไข่จนถึงขอบขนาน ขนาดประมาณ กว้าง 6 - 15 ซม. ยาว 8 - 20 ซม. เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองนวล
ผล ผลอ่อนสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อผลแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางลด น้อยลง รูปกลมแป้น ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ขนาดประมาณ 5.00 - 15.00 เชนติเมตร เมล็ดรูปรี มีปลอกเหนียวห่อหุ้ม มี 2 - 8 เมล็ด ภายในผลจะมีเมล็ด 3-5 เมล็ด และมีปุยสีขาวหุ้มอยู่ ซึ่งลักษณะ ของปุยและรสชาติจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพันธุ์
สายพันธุ์
พันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสูดเป็นพันธุ์กระท้อนห่อที่มีรสหวาน ได้แก่ พันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย นิ่มนวล อินทรชิต ทับทิม ขันทอง เทพรส อีแดง ส่วนพันธุ์พื้นเมืองจะมีผลดก ผลมีขนาดเล็ก รสเปรี้ยว จึงนิยมนำมาทำเป็น กระท้อนดอง กระท้อนทรงเครื่อง[1]
กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย (ปุยฝ้ายแท้) : เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของ ต.ตะลุง เป็นที่นิยม บริโภคมากที่สุด ด้วยที่กระท้อนผลกระท้อนมีรสหวาน มีเปลือกที่นิ่ม และเม็ดกระท้อนมีปุย เหมือนปุยฝ้ายจึงเป็นกระท้อนที่จำหน่ายได้สูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น