วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

160.ต้นหว้า


ชื่อวิทยาศาสตร์ Eugenia cumini Druce
ชื่อวงศ์ MYRTACEAE
ชื่ออื่นๆ มะห้า มะเกี่ยวแขก ห้าขี้แพะ


ลักษณะทั่วไป หว้า เป็นผลไม้ยืนต้น ลำต้นตรงสูงประมาณ 5-12เมตร การแตกกิ่งเป็นมุมแหลม ปลายกิ่งตั้ง กระจายกิ่งกลางลำต้นขึ้นไป
ผิวเปลือก เปลือกของลำต้นชั้นนอกมีสีเทาขาว ผิวขรุขระ เปลือกไม่หลุดลอกออกเป็นแผ่น
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดเป็นคู่อยู่ตรงข้ามระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปไข่รี โค้งมน ปลายใบมน ผิวใบเรียบลื่น
ดอก ดอกเป็นช่อเกิดตามปลายกิ่งมีมาก ดอกคล้ายไข่มด
ผล เป็นผลสดเป็นช่อเมื่อสุก มีสีม่วงดำ ผิวเรียบ เนื้อฉ่ำน้ำ รสฝาด หรือหวานปนฝาด เมล็ดกลมสีขาว
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

หว้าจะขึ้นได้ดีกับดินทุกชนิด ชอบแสงแดดจัดและความชื้นปานกลาง

159.ต้นทิลแลนเซีย

Tillandsia/ทิลแลนด์เซีย หรือ ทิลแอนด์เซีย ผมชอบใช้ชื่อไทยชื่อแรก ส่วนชื่อไทยชื่อหลังมีคนใช้เช่นกัน ก็ไม่รู้ว่าที่ถูกต้อง ต้องอ่านอย่างไร ต้องถามเจ้าของภาษา เข้าเรื่องดีกว่า ทิลแลนด์เซียเป็นไม้อากาศ คือไม่ง้อวัสดุปลูกใดๆทั้งสิ้น แขวนไว้เฉยๆก็โตได้ เขาเป็นพืชในตระกูลสับปะรด หรือเรียกรวมๆพืชในตระกูลนี้ว่า "บรอมีเลียด (Bromeliad)" ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ Bromeliaceae พืชในวงศ์นี้บอกแล้วว่าเป็นสับปะรด(แสดงว่าใช้ได้หมดเลยเพราะเป็นสับปะรด) ได้แก่ สับปะรดที่กินได้ทั้งหมด สับปะรดประดับ และก็เจ้าทิลแลนด์เซียนี่แหล่ะ ชื่อ Tillandsia ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นายแพทย์ชาวฟินแลนด์ที่ชื่อ Elias Tillands

158.ต้นว่านหางจระเข้

สรรพคุณ

ใบ รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี

ทั้งต้น รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา

ราก รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด

ยางในใบ เป็นยาระบาย

น้ำ วุ้นจากใบ ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น

เนื้อวุ้น เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร

เหง้า ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด

157.ต้นกนกลายไทย

กนกลายไทย เป็นพันธุ์ไม้ประดับ ที่มีใบค่อนข้างหนาและสีเขียวเข้ม

รูปใบมีลักษณะของบอนใบไทย โคนใบเว้าลึกแต่ห่าง ตะโพกใบกว้าง

 และค่อยเล็กไปตามปลายใบ ปลายใบแหลม ที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจนักนิยมเล่นไม้ประดับ

เห็นจะเป็นลวดลายกนกลายไทยสีขาวที่อยู่บนใบ อันเป็นศิลปะของไทยมาตั้งแต่ดั้งเดิม

โดยมีฐานของกนกลายไทย เริ่มจากขอบใบและมียอดลายอยู่ที่เส้นกลางใบ

ทแยงไปด้านสะดือใบ เมื่อแตกใบใหม่จะเป็นสีอ่อนและค่อนข้างบอบบาง

โดยไม่มีสีเขียวอยู่เลย แต่เมื่อเจริญขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน และเริ่มแตกลาย

ใบเป็นสีขาวและเขียวแก่เป็นลำดับ ใบมีอายุยาวนาน มีก้านใบที่ค่อนข้างยาวและแข็งแรง บางท่านเรียกติดปากว่า บอนกนกลายไทย

156.ต้นพลับพลึง



ใช้ประโยชน์ได้แทบจะเรียกได้ว่าทั้งต้น
หัว ขับเสมหะ บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ
ใบ แก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดหัว
รากทำให้อาเจียน ตำพอกแผล
ส่วนเมล็ดขับประจำเดือน เป็นยาบำรุง

การเกิดพิษ : รับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ท้องเดิน



ขยายพันธุ์ ใช้วิธีเพาะเมล็ด แยกหน่อ ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี ความชื้นพอเหมาะ แสงแดดพอประมาณ

155.ต้นประยงค์

 ต้นประยงค์ บางคนอาจจะไม่รู้ว่าหมายถึงสิ่งใด ?"
ต้นประยงค์ มีความกับ วิชาภาษาไทยในระดับม.๖ นี้ในเรื่องใด
ต้นประยงค์ มีข้อมูล ที่แท้จริงเป็นอย่างไรกัน ?
ต้นประยงค์ ลักษณะจำเพาะเพียงเพราะแค่เป็นต้นไม้ธรรมอย่างนั้นหรือ
ต้นประยงค์ กำเนิดและขยายพันธุ์ได้ยากง่ายเพียงใดกันเล่า
ต้นประยงค์ วรรณคดีก็มีต้นประยงค์นี้อยู่ด้วยใช่ไหม
ต้นประยงค์ ประโยชน์ของเจ้าต้นประยงค์นี้ เคยรู้แล้วหรือไม่
ต้นประยงค์ มีเกล็ดความรู้ในเรื่องใบ โปรดเอ่ยที

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

154.ต้นไทรใบยาว

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Ficus annulata
ชื่อวงศ์:  MORACEAE
ชื่อสามัญ:  Banyan Tree


ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร  ลำต้นครงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสรรแตกต่างกันตามพันธุ์
    ฝัก/ผล  แบบมะเดื่อ 1.8 - 3 ซม. ออกเป็นคู่ในซอกใบ รูปไข่ สีเหลืองอมส้มหรือเหลืองอมชมพู มักจะมีจุดสีครีม ก้านผล 1 - 1.5 ซม. อ้วนสั้น ด้านบนมีวงแหวนนูน ด้านล่างและกาบใบรูปสามเหลี่ยมแคบขนาด 4 - 7 มม. 3 กาบ ที่ยอดผล
ฤดูกาลออกดอก:
การปลูก:
    -    ปลูกเป็นไม้กระถางขนาดใหญ่
    -    ปลูกเป็นไม้กระถางเล็กประดับบนโต๊ะทำงาน
    -    ปลูกลงดิน
การดูแลรักษา:  ชอบดินร่วนซุ่ย อยู่ได้ในแดดอ่อนถึงกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลางถึงมาก
การขยายพันธุ์:  การปักชำ การตอน การใช้เมล็ด


153.ต้นเตยประดับ

152.ต้นเตยฮาวาย

151.ต้นเตยขอบขาว

150.ต้นกาแฟ



     กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จากต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟ คั่ว มีการปลูกต้นกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มันมีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก

149.ต้นกวักทรัพย์

148.ต้นเขียวหมื่นปี

147.ต้นหน้าวัว


ชื่อสามัญ Anthurium
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthurium andraeanum

ลักษณะทั่วไป
         หน้าวัวและเปลวเทียนเป็นไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่มีการ ปลูกเป็นการค้าในเขตร้อนชื้น โดยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีเนื้อไม้อ่อนและมีอายุยืนลำต้นตั้งตรงความยาว ของปล้องจะแตกต่างกันใปขี้นอยู่กับชนิดหรือพันธุ์ เมี่อยอดเจริญสูงขึ้นอาจพบรากบริเวณลำต้นและรากเหล่านี้จะเจริญยืดยาวลงสู่ เครื่องปลูกได้ก็ต่อเมื่อโรงเรือนมีความชื้นสูงพอ ลำต้นอาจเจริญเป็นยอดเดี่ยวหรือ แตกเป็นกอก็ได้ ใบมีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น รูปหัวใจ ดังเช่นที่พบในหน้าวัว หรือ รูปพายคล้ายใบของเขียวหมื่นปีและรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดดังที่พบ ในเปลวเทียนแต่ไม่ว่าจะมีรูปร่าง อย่างไรจะสังเกตเห็นว่าปลายใบแหลม ในพวกที่มี ใบกว้างเส้นใบจะเรียงตัวคล้ายร่างแหขณะที่พวกซึ่งมีใบแคบเส้นใบจะเรียงตัว คล้ายเส้นขนาน แต่ทั้งนี้เส้นใบมักจะนูนขึ้นอย่างชัดเจน

146.ต้นล้อมเพชร

145.ต้นมหาราช

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

144.ต้นสิบแสน

143.ต้นเข็มสามสี

142.ต้นข้าวโพด

141.ต้นสาวิตรี

140.ต้นเสือดาว

139.ต้นหูเสือ

138.ต้นชะมวง

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

137.ต้นกล้ากาแฟอาราบิก้า(กล้าก)

       ต้นกล้าแมคคาเดเมียนัท ต้นถัวที่แพงที่สุดในโลก ลักษณะต้นเป็นไม้ผล/ยืนต้น ทรงพุ่ม ใบแ็ข็งมีหนาม คล้ายต้นสน หรือต้นคริสมาสต์เป็นทรงกรวยปลูกเพื่อประดับก็ได้ค่ะ หรือปลูกเพื่อร่มเงาเมล็ดแมคคาเดเมียนัท มีรสชาติหวานมันอร่อย ถั่วที่ให้พลังงานทานแล้วไม่อ้วน

เป็นพืชไม่ผลัดใบ อายุยืนยาม 60-80 ปี ทั้งดอกและเมล็ดสีขาวกะเทาะเปลือก ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่มีคลอเลสเตอรอล มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งมีส่วนช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดหัวใจ, มีเบต้าแครอทีนสูง, สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ได้ดีเนื่อง จากมีกรดไขมันที่ช่วยเพิ่มความนุ่มลื่นและมีประโยชน์กับผิว, เปลือกของเมล็ด ยังสามารถนำมาผลิตเป็นสารช่วยดูดกลิ่นและจับอนุมูลอิสระได้อีกด้วย หากปลูกจำนวนมากๆ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าสีเขียว ลดภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญเกษตรกรไม่ต้องบุกรุกป่าทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป เพราะผลผลิตมีราคาค่อนข้างสูง ตลาดโลกยังมีความต้องการอีกมาก สามารถส่งขายไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย

136.ต้นดอกฝ้ายคำ

135.ต้นก้ามกุ้ง

วงศ์  Heliconiaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์: Heliconia  psittacorum L.f.
ชื่อสามัญ: Heliconia
ชื่อท้องถิ่น: ก้ามกุ้ง   ธรรมรักษา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์       
ต้นเฮลิโคเนียเป็นพืชหลายปี (perennial) ลำต้นไม่มีเนื้อไม้  และมีลำต้นใต้ดินแบบเหง้า  (rhizome) โดยหน่อใหม่จะแตกตาบนส่วนของเหง้าเดิมขนานกับผิวดิน มีลำต้นเทียมวางซ้อนสลับไปมา (overlapping) ใบเรียงตัวอยู่บนลำต้นเทียมแบบสลับตรงกันข้าม (alternate) ใน ระนาบเดียวกัน(distichores) แต่ละใบประกอบด้วยส่วนของก้านใบ (petiole) และ แผ่นใบ(blade) 
ผลเฮลิโคเนียมีลักษณะคล้ายผลท้อ มีเปลือกแข็งหุ้ม เนื้อนุ่ม มีเมล็ด 1-3 เมล็ด ผลมีหลายสี
Heliconia  psittacorum เป็นเฮลิโคเนียชนิดดอกเล็กที่มีความสูง 0.6-2 เมตร ขยายกอเป็นวงกว้าง  ช่อดอกตั้ง ออกดอกตลอดปี เฮลิโคเนียชนิดนี้มีหลายพันธุ์  เช่น  โกลเด้นทอร์ช หรือ ก้ามกุ้งสีทอง ซึ่งนิยมปลูกตัดดอกในปัจจุบันเพราะมีกลีบดอกหนา และสีสดใส  มีกาบรองดอก 4-8  อัน สีเหลืองถึงสีทอง แกนช่อดอกสีเหลือง บริเวณโคนของแกนช่อดอกแต่ละอันจะมีสีแดงเล็กน้อย ดอกสีเหลืองทองปลายกลีบดอกเคลือบสีเขียวเล็กน้อย (สุปราณี, 2540; สุมิตรา, 2548)
การใช้ประโยชน์ ไม้ตัดดอก  ไม้กระถาง  ตกแต่งสวน

134.ต้นตะแบก

133.ต้นอะโวกาโด้

อะโวกาโด้ ผลไม้มหัศจรรย์ สำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ผู้มีปัญหาไขมันในเลือดสูง เด็กและทารกก็ทานได้ เป็นผลไม้ที่มีไขมันชนิดดีสูง อายุที่ออกผลคือ 4ปี มีขายค่ะ อายุ 2ปีกว่าแล้ว สูงประมาณ 2.2 เมตร (4 ปีก็ให้ลูก)

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

132.ต้นตีนจำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ardisia polycephala  Wall.
วงศ์ :   MYRSINACEAE
ชื่ออื่น :  ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)

     ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ :
      ใบ  -   แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม
      ดอก -  ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ
      เมล็ด -  แก้ลมพิษ
      ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู
      ต้น - แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน

131.ต้นจิก

130.ต้นฉำฉา

จามจุรี ก้ามปู ฉำฉา
Albizia saman f. Muell.

    ได้นำมาปลูกที่เมืองไทยครั้งแรกที่เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2443 โดยนายเอช สเลด เจ้ากรมป่าไม้คนแรกของไทย ต้นใช้เลี้ยงครั่ง เนื้อไม้ลายสวยใช้สำหรับงานแกะสลัก ใบหมักทำปุ๋ย ทนน้ำท่วมขังและมลพิษ กิ่งเปราะหักง่าย ฝักมีน้ำยางเหนียว รากแข็งแรง งัดพื้นให้เสียหายได้

ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อนไปถึงบราซิล
ลักษณะ ไม้ต้น สูง 15-30 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่ม กิ่งอ่อนมีขนสั้น
ใบ ใบประกอบ ใบรูปรีหรือไข่ สีเขียวเข้มปนมัน ใต้ใบสีเขียวนวลและมีขน
ดอก ออกเป็นช่อบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่งดอกเล็ก มี 5 กลีบ เกสรจานวนมาก สีชมพู ฟูอยู่ กลางดอกออกดอกพร้อม ๆ กันทั้งต้น
ฤดูออกดอก สิงหาคม - กุมภาพันธ์ กลิ่นหอมอ่อน ๆ
สภาพปลูก ดินทั่วไป แสงแดดจัด ทนน้ำท่วมขังและมลพิษ
ขยายพันธ์ เพาะเมล็ด

129.ต้นยี่โถ

128.ต้นลั่นทม


ชื่อสามัญ : Evergreen Frangipani, Graveyard Flower Pagoda Tree, Temple Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumeria obtusa Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ขยายพันธุ์ : เมล็ด ปักชำกิ่ง
ประโยชน์ : เปลือกรากและเปลือกต้น ใช้เป็นยาถ่าย ยาง ใช้ทาแก้โรคงูสวัด และแก้หิด ทุกส่วนมีสารจำพวก iridoid เช่น plumieride

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง ๓-๖ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกว้าง ทุกส่วนมียางสีขาว ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ บริเวณปลายกิ่งรูปใบพายแกมขอบขนาน กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ยาว ๒๐-๓๒เซนติเมตร ปลายและโคนมน ด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ด้านล่างมีขน ดอก สีขาว กลางดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ภายในมีขน ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน กลีบรูปไข่กลับ ปลายมน งอลงเง็กน้อยเมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘-๑๐ เซนติเมตร เกสรตัวผู้ ๕ อัน ก้านเกสรสั้นมาก ผล เป็นฝักคู่รูปยาวรี กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น ๒ ซีก เมล็ด จำนวนมาก แบน มีปีก

127.ต้นชงโค

126.ต้นพลับพลึงทอง

125.ต้นชบาแดง

124.ต้นชบา


ชื่อสามัญ  Chinese rose
ชื่อวิทยาศาสตร์   Hibiscus rosa sinensis.
ตระกูล   MALVACEAE
ถิ่นกำเนิด  จีน อินเดียและฮาวาย
 

ลักษณะทั่วไป
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้าน
ปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆ
ทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความ
สูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

การดูแล
แสง  ชอบแสงแดดมาก
น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
การขยายพันธ์ ตอน ปักชำ
โรคและแมลง  ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่
การป้องกันกำจัดฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก
                                                      
 ลักษณะเด่นของพืชชนิดนี้
คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู

ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา

โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ
2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง
3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก

สรรพคุณทางยาและประโยชน์
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
  • ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่าง ละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
  • ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
  • รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
  • รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
  • บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

123.ต้นจันทร์ผา

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

122.ต้นหิรัญญิการ์


ชื่อวิทยาศาสร์      Beaumontia brevityba. Oliv.
ตระกูล                 APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ             Nepal Trumpet.

                                                                                               
ลักษณะทั่วไป
ต้น          
หิรัญญิการ์เป็นไม้เถาใหญ่เนื้อแข็ง ทุกส่วนของลำต้นหรือเถาจะมียางสีขาว ส่นยอดหรือส่วนอื่นๆ ที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนสีน้ำตาลอมแดงขึ้นปกคลุม หิรัญญิการ์มักเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่นและสามารถเลื้อยไปได้ไกลประมาณ 15 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่มแน่นเฉพาะส่วนยอดหรือบริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่

ใบ          
หิรัญญิการ์เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้นลักษณะใบหยาบยาวหนา รูปใบมนปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ เกลี้ยง ไม่มีจัก ใบมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และกว้างป  ระมาณ 4-6 เซนติเมตร ใบด้านบนเป็นมัน

ดอก      
 ดอกหิรัญญิการ์มีขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่งดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย ตอนปลายของดอกจะบานกว้างมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ติดอยู่กับเนื้อบริเวณโคนกลีบ มีลักษณะเป็นเส้นยาว แยกออกจากกัน คือจะมีเกสรติดอยู่กลีบละ 1 อัน หนึ่งดอกมีเกสร ตัวผู้อยู่ 5 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กซ่อนอยู่ข้างในดอก ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 8 เซนติเมตรและยายประมาณ 13 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกตั้ง แต่ 6-15 ดอก ดอกจะผลัดกันบานครั้งละประมาณ 4 ดอก

121.ต้นเพชรนารายณ์

120.อากาเว่ครูวงศ์

119.อากาเว่

118.ต้นนางแย้ม

117.ต้นว่านหางช้าง

116.ต้นอับเฉา

115.ต้นงิ้ว

114.ดอกกุหลาบ


     กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย

     ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย

ดอกกุหลาบ     ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรดิจีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอก ส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน ชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมากถึงจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้ว ยังลงทุนสร้างเนอร์สเซอรี่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย สำหรับชาวโรมันแล้วเรียกได้ว่าดอกกุหลาบมีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน เพราะชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ซึ่งเป็นทั้งของขวัญ เป็นดอกไม้สำหรับทำเป็นมาลัยต้อนรับแขก เป็นดอกไม้สำหรับงานเฉลิมฉลองต่างๆ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ ส่วนน้ำมันกุหลาบยังใช้ทำเป็นยาได้อีกด้วย

   กุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความโรแมนติก ซึ่งมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงาม และความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม

ดอกกุหลาบ    บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง

    กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ

113.ต้นพุด