วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

194.ต้นพลับพลึง

193.ต้นนะหน้าทอง

192.ต้นวาสนาทองนอก

191.ชบาดอกแดง

190.จอกมาเลย์

189.ต้นเงินเต็มบ้าน

188.ต้นคู่บัลรังค์

187.ต้นคฑามหามงคล

186.คฑาทอง

185.ต้นคฑาเงิน

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

181.ต้นบัลลังค์ทอง

180.ต้นรวยรายวัน




179.ต้นเศรษฐีมีทรัพย์

178.ต้นทรัพย์มั่งมี

177.ต้นเพชรน้ำหนึ่ง

176.ต้นรวยเงิน

175.ต้นทองศุภโชค

174.เฟิร์นข้าหลวง


เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย

วงศ์ Aspleniaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Asplenium nidus CV. varigated
ชื่อสามัญ Bird's Nest Fern

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ข้าหลวงหลังลาย เป็นเฟิร์นที่พวกเรารู้จักกันดี นิยมปลูกกันแทบทุกบ้าน ได้ชื่อว่า ข้าหลวงหลังลายนั้น มาจากกลุ่มอับสปอร์ที่อยู่ด้านหลังของใบ เป็นเฟิร์นเกาะอาศัยอยู่ตามคาคบไม้ในป่าดงดิบ ป่าที่มีความชื้นสูง หนังสือบางเล่ม เล่าว่า เป็นเฟินที่พระราชาในสมัยโบราณ ทรงโปรดปรานมาก ให้เหล่าบรรดาเสนาข้าหลวงเข้าป่าไปหามาให้ ใครหาไม่ได้มักจะโดนเฆี่ยนหลังลาย เฟิร์นข้าหลวง เป็นเฟิร์นเกาะอาศัยอยู่ตามคาคบไม้ในป่าที่มีความชื้นสูง ลักษณะทรงพุ่มเป็นใบเดี่ยวออกเวียนรอบเหง้า ทำให้เหมือนเป็นตะกร้าสำหรับรองรับเศษใบไม้หรืออินทรียวัตถุมาเก็บไว้เพื่อ เป็นอาหาร นอกจากนี้ใบแก่ที่อยู่รอบนอก เมื่อเหี่ยวแห้งจะห้อยลงมาปิดระบบราก ทั้งนี้ก็เพื่อเก็บรักษาความชื้นเอาไว้ในช่วงฤดูแล้ง (เต็ม, 2544 ; Fernsiam.com, 2544)

การใช้ประโยชน์ นำมาเป็นไม้ประดับ
สถานที่พบ ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และร้านค้าในงานเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัด

173.ต้นเรียกจิ้งจก


"ต้นเรียกจิ้งจก"




ใบ จะมีเว้า 2 แฉกและ 3 แฉก ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ มีดอกเล็กที่มีคุณสมบัติพิเศษใบและลำต้นของต้นจิ้งจก มีฟีร์โมนพิเศษที่สามารถเรียกจิ้งจกมาได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย หากนำใบของต้นจิ้งจกมาขยี้และทาตามฝาบ้าน มุมบ้าน หรือในมุมที่ต้องการเรียก เมื่อนำใบมาตีๆ ขยี้ตามที่ต้องการทิ้งไว้ ประมาณ 2-5 นาที จิ้งจกที่อยู่ตามซอกตามมุมต่างๆ จะออกมารวมตรงบริเวณที่ทาหรือขยี้ใบต้นจิ้งจก เพราะใบต้นจิ้งจกทำให้ออกมาจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า "ต้นเรียกจิ้งจก"

172.ต้นเสล็ดพังพอน


สรรพคุณใช้รักษาโรคงูสวัดและเริม
จากการรักษาของหมอกับผู้ป่วยที่มาในอาการมีตุ่มใสบริเวณแผ่น
หลังด้านขวา เป็นมาแล้วประมาณ 3-4 วัน ปวดมาก ลักษณะแบบ
ปวดแสบปวดร้อน ปวดมากจนนอนไม่หลับเมื่อหมอตรวจแล้วพบ
ว่าเป็นงูสวัด การใช้ยาแผนปัจจุบันมีทั้งยากินและยาทาแต่ราคา
ค่อนข้างแพง
ดังนั้นหมอจึงเลือกใช้สมุนไพรคือสเลดพังพอนตัวเมีย หรือพญายอ
มาใช้ในการรักษา

วิธีการเตรียม
เด็ดใบสเสดพังพอนตัวเมีย หรือ พญายอมาล้างทำความสะอาด นำ
มาบดหรือปั่นกับ 70% อัลกอออล์ แล้วใช้สำลีหรือผ้าก็อซมาชุบ
น้ำยาสเลดพังพอนมาปิดบริเวณตำแหน่งที่เป็นงูสวัดที่ทำความ
สะอาดแผลแล้ว หรืออาจใช้ใบสเลดพังพอนตัวเมีย 10-15 ใบมาบด
ผสมกับเหล้าขาวให้พอชุ่ม นำมาพอกบริเวณที่เป็นงูสวัด ทำซ้ำบ่อย
ๆจนกว่าจะหาย

ขณะที่หมอได้มาตามผลการรักษาคนไข้ คนไข้บอกว่า หมอมียาดี
จังเลยฉันเบาปวดแสปปวดร้อนแล้วค่ะ เมื่อหมอเปิดผ้าก็อซมาดู
ปรากฏว่าตุ่มใสต่างๆยุบแห้งเลย หมอประทับใจในสรรพคุณของ
สเลดพังพอนตัวเมีย หรือพญายอเป็นอย่างมาก

171.ต้นพยอม


ชื่อพฤกษาศาสตร์

ชื่อไทยพื้นเมือง

วงศ์

วรรณคดีที่กล่าวถึง

ประโยชน์ ้

ลักษณะ

Shorea roxburghii G. Don.

พยอมทอง ขะยอม ยอม เซียง

DIPTEROCAPACEAE.

มหาเวสสันดรชาดก ลิลิตพระลอ โคลงโลกนิติ อิเหนา

เป็นไม้เศรษฐกิจ และเปลือกนำไปใส่ในเครื่องหมักดองเพื่อกันบูดใช้ฟอกหนังได้

เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว มนรีขอบขนาน ที่ปลายใบมน หรือแหลมเป็นติ่งเล็ก ๆ คล้ายใบรัง ดอกมีสีขาวนวล ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แตกช่อเป็นระย้า มีกลิ่น หอม ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวย

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

170.ต้นตะกูยักษ์


วิธีการ และขั้นตอน การปลูกต้นตะกูยักษ์ แบบสมบูรณ์ที่สุด

ต้น ตะกูแต่ละสายพันธุ์ จะมีลักษณะดอกและใบที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยและมีทั้งสายพันธุ์ที่โตเร็วโต ช้าแตกต่างกัน บางสาย พันธุ์ก็เติบโตได้แต่เฉพาะในที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์ก็สามารถเติบโตได้ทั้งที่ใกล้น้ำ
และที่แล้ง การลงทุนปลูกูต้องเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตเร็วและจะให้ดีควรเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่
เช่นตะกู ก้านแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทางเราแนะนำ เนื่องจากมีการวิจัยและคัดเลือกสายพันธุ์มาแล้ว ต้นกล้าที่ได้
จะเป็นต้นพันธุ์คุณภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งไม้ที่คุ้มค่าสร้างผลกำไรที่แน่นอนต่อผู้ปลูก
- ปลูกด้วยกล้าพันธุ์ ที่ผ่านขั้นตอนการเพาะกล้าอย่างถูกวิธี สูงประมาณ 3 นิ้ว
ควรปลูกต้นฤดูฝน (ถ้าไม่มีแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง)
- ระยะปลูก 2 x 4 ม. ปลูกได้ประมาณไร่ล่ะ 200 ต้น (เหมาะสำหรับปลูกพืชแซมเช่น ข้าวโพด,มันสำปะหลัง,
มะระกอ หรือพืชที่ให้ผลตอบแทนระยะสั้น ต้นตะกูจะได้น้ำและปุ๋ยด้วย การเจริญเติมโตจะสมบูรณ์มาก)
- ระยะปลูก 4 x 4 ม. ปลูกได้ประมาณไร่ล่ะ 100 ต้น (ปลูกแล้วดูแลน้อยมาก หรือจะปลูกพืชแซมจะดีมาก)
- ขุดหลุมกว้าง 30 x 30 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร (พื้นที่ลูกรังควรขุดหลุมกว้าง 40 x 40 ลึก 40 เซนติเมตร)
- ควรขุดหลุมตากแดดทิ้งไว้สักระยะ เพื่อฆ่าเชื้อ
- ควรใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ สูตรพิเศษ คลุกกับดิน หลุมละ 250-300 กรัม
- ขณะนำต้นตะกูลงปลูกให้ระมัดระวังในขณะฉีกถุง อย่าให้ดินในถุงแตก
- หลังจากนั้นกลบดินให้แน่น อย่าให้เป็นแอ่งน้ำขังบริเวณหลุมปลูก และใช้ไม้ค้ำขวางลมผูกเชือกยึดติดกับไม้ค้ำ
เพื่อป้องกันต้นล้ม
- ระยะตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึง 4-5 เดือน ควรดูแลรดน้ำสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ต้นกล้าไม่ชะงักการเจริญเติบโต
การใส่ปุ๋ย
ปีที่ 1
- หลังจากปลูก 1 เดือน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 300 กรัม
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน – ตุลาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม
ปีที่ 2
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 350-400
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน – ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม
ปีที่ 3-5

- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน – ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม
ปีที่ 6 ขึ้นไป ให้ตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูมีขนาดที่ใหญ่ออกทางด้านข้าง และมีเนื้อไม้ที่แข็งแรงการใส่ปุ๋ย
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน – ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม

การ ดูแลรักษา

นอกจากการใส่ปุ๋ยตามที่กำหนด สิ่งที่ควรระมัดระวังในระยะเริ่มปลูกปีที่1-2 ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย แพะ และแกะ ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช เข้าไปในแปลงปลูกต้นตะกู เพราะอาจเข้าไปกินใบต้นตะกูได้ และอาจทำความเสียหายได้ถึง 70%

169.ผักโขมใหญ่

ชื่ออื่น : ผัก โขมขาว ผักขมจีน ผักโขมสี ผักโขมหนาม ผักโหมใหญ่ ผักโหมหนาม ผักหมพร้าว ผักขมเกี้ยว ผักโหมป๊าว ผักขมใบใหญ่ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550) วัชพืชหมู วัชพืชซุ่มซ่าม (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 74) ผักขม ผักโหม ผักหม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผัก โขม มี 3 ชนิด คือผักโขมจีน มีใบสีเขียวแก่ มีลายเส้นเลือดแดง ผักโขมสวน ใบเป็นสีเขียวอ่อน ก้านใบผอมยาว เป็นพันธุ์ที่เพาะขายแพร่หลายที่สุด ในเมืองไทย ผักโขมหนาม ใบสีเขียวใหญ่ ลักษณะเฉพาะตัว มีหนามที่ก้านและลำต้น ไม่ว่าจะเป็นผักโขมชนิดใด รสชาติคล้ายคลึงกัน (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 74) ในที่นี้ขอกล่าวรายละเอียดของลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักโขมจีน ได้ดังนี้ (อรุณี วิเศษสุข และคณะ, 2542, 145) ต้น เป็นพืชล้มลุกฤดูเดียวลำต้นสีเขียว สูง 30 – 100 ซม. ลำต้นอวบน้ำสีเขียวอ่อนโคนต้นสีน้ำตาลแดง ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบต้น ใบขนาดใหญ่กว้างประมาณ 7 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. รูปไข่กว้าง ปลายใบมนโคนใบป้าน ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบหลังเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก เป็นช่อยาวสีขาว ดอกช่อออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่น เมล็ด ขนาดเล็ก กลมสีดำ

168.ผักติ่ว

ผักติ้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Cratoxylum cochinchinense Bl.วงศ์ GUTIFERAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นติ้วเป็นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไปเปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาใบมนแกมรูป ไข่กลับ และรูปขอบขนาด กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-13 ซม. ออกเป็นคู่ ๆ ตรงกันข้าม โคนสอบเรียวส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบโตออกปลายสุดสอบเข้านื้อบางหลังใบมีขนสอง ท้องใบมีขนนุ่มหนาแน่น ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นดอก ผลรูปร่างรีขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว 2 ซม. หรือย่อมกว่าเล็กน้อย มีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดออกเป็นสามแฉก เมล็ดสีน้ำตาล

167.เถาขี้กาขาว


ขี้
กาขาว สมุนไพร ผลขี้กาขาวมีลักษณกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว
เมื่อผลสุกจะมีสีแดง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Trichosanthes cordata Roxb.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
CUCURBITACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ขี้
กาขาว เถาขี้กา


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพร ใบสดของขี้กาขาวใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็นรักษาอาการคัดจมูกได้ดี
ใช้ปรุงเป็นยา" href="http://www.csamunpri.com/herbals/">สมุนไพรขี้กาขาว
เป็น
พรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน
เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดหรือโตกว่าเล็กน้อย
ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ


เถาและใบ : เถาและใบขี้
กาขาว
จะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายฟักเขียว
แต่เถาและใบจะเล็กว่า ไม่กลวง

166.ต้นกระบือ7ตัว


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria
Bicolor Hassh.


ชื่อสามัญ :
Picara


ชื่อวงศ์ :
Euphorbiaceae


ชื่อพืชสมุนไพร ยาสมุนไพร สมุนไพรไทย ดอกไม้ สปา อโรม่า" href="http://www.csamunpri.com/">สมุนไพรอื่น ๆ : กระบือ
เจ็ดตัว (ภาคกลาง), บัวรา (ภาคเหนือ), ลิ้นกระบือ, แสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง,
กระเบือ, ลิ้นกระบือขาว, กำลังกระบือ ตาตุ่มไก่, ตาตุ่มนกกระทู้เจ็ดแบก,
ใบท้องแดง


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:



  • ต้น: สมุนไพรกระบือ
    เจ็ดตัว
    เป็นไม้พุ่มยืนต้น สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นสีเขียวอมม่วงแดง
    แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่นทึบ

  • ใบ: ใบเดี่ยว
    เรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-4.5 เซนติเมตร ยาว 4-13 เซนติเมตร
    ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบจักฟันซี่เกือบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
    ผิวใบด้านล่างสีม่วงแดงหรือม่วง

  • ดอก: ดอกกระบือเจ็ด
    ตัว
    มีสีเหลืองอมเขียว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง
    ช่อดอกยาว 1- 2 เซนติเมตร ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น
    ช่อดอกเพศผู้มีดอกเล็กๆจำนวนมาก
    ดอกเพศเมียสั้นกว่าช่อดอกเพศผู้และมีต่อมเล็ก ๆ กลีบดอก 3 กลีบ

  • ผล: ผลแห้งแตก
    ค่อนข้างกลม มีขนาดเล็ก มี 3 พู

การขยายพันธุ์:
เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง


ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ
กระพี้และเนื้อไม้

165.ต้นกระโดน


ต้น กระโดน

ชื่อพื้นเมือง กะนอน ขุย แซงจิแห๊อะบะ ปุย ปุยกระโดน หูกวาง ปุยขาว

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 เมตรผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบดดยมากลำต้นมักเตี้ย กิ่งก้านสาขามาก เปลือกหนา สีเทา

ดอก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกๆละ 2-3 ดอก สีแดงปลายขาว ดอก ออก ธ.ค-ก.พ

ผล ผลสดแบบมีเนือหลายเม้ด ทรงกลม อวบนำขนาด 5-7 ซม. ผลออก มี.ค-พ.ค

ด้านภูมิทัศน์ ทรงพุ่มกลมทึบ ใบใหญ่ ปลูกในสวนจะมองเห็นแต่ไกลว่าทรงพุ่มเด่น

ประโยชน์ เปลือกทำเชือก ใบรักษาแผล ดอกเป็นยำบำรุง ใบอ่อนรับประทานได้

164.เถาตาปลา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris scandens Benth.FABACEAE

ชื่ออื่น
เครือเขาหนัง เถาตาปลา พานไสน

รูปลักษณะ
ไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ ยอดอ่อนมีขนนุ่น มีใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 1- 2.5 ซม. ยาว 3 - 5 ซม.

เถาวัลย์เปรียง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens หรือที่รู้จักในชื่อท้องถิ่นว่า เถาตาปลา, เครือตาปลา, เครือเขาหนัง เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Leguminosae มีคุณสรรพคุณเป็นยาแก้ปวดเมื่อย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นขอด และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ จากรายงานวิจัยพบว่า เถาวัลย์เปรียง มีสาระสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม Flavonoid glycoside ที่มีชื่อว่า scadenin, nallanin

โดยสารสกัดจากลำต้นของเถาวัลย์เปรียงนั้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด, ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาบรรเทาปวดลดการอักเสบประเภทสเตียรอยด์ ที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังปวดกล้ามเนื้อและปวดตามข้อได้