วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

32.ต้นสบู่ดำ


ผลของสบู่ดำนำมาสกัดเป็นน้ำมันได้ด้วย ต้นเล็กเป็นไม้พุ่มสูง

ลักษณะ

เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 2-7 เมตร อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา เมื่อหักลำต้น ส่วนยอดหรือส่วนก้านใบจะมียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นเขียว

ดอก

ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายของยอดขนาดดอกเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอม อ่อนๆ มีดอกตัวผู้จำนวนมากและดอกตัวเมียจำนวนน้อยอยู่บนต้นเดียวกัน

ผลและเมล็ด


เมล็ดสบู่ดำ

ผลและเมล็ดมีสาร hydrocyanic เมล็ดสบู่ดำมีสารพิษเรียกว่า CURCIN หากบริโภคแล้วทำให้เกิดอาการท้องเดินเหมือนสลอด เมื่อติดผลแล้วมีสีเขียวอ่อนเกลี้ยงเกลาป็นช่อพวงมีหลายผล เวลาสุกแก่จัดมีสีเหลืองคล้ายลูกจันทร์ รูปผลมีลักษณะทรงกลมขนาดปานกลาง เปลือกหนาปานกลาง

ผลหนึ่งส่วนมากมี 3 พู โดยแต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้ เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็กๆ ติดอยู่ เมื่อเก็บไว้นานจุดนี้จะหดตัวเหี่ยวแห้งลงขนาดของเมล็ดเฉลี่ย ความยาว 1.7-1.9 ซม. หนา 0.8-0.9 ซม. น้ำหนัก 100 เมล็ดประมาณ 69.8 กรัม เมื่อแกะเปลือกนอกสีดำออกจะเห็นเนื้อในสีขาว[5]

ประโยชน์

ต้นสบู่ดำเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้หลายโรค เช่น ใช้น้ำยางใสป้ายริมฝีปากรักษาโรคปากนกกระจอก รักษาแผลในปาก แก้อาการปวดฟัน นำมาผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้นขาวในเด็กก็หาย หยอดตาแดงหายได้เช่นกัน หรือผสมกับน้ำเจือจางเป็นยาระบาย

ส่วนลำต้นนำมาผ่าสับเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคซางในเด็ก แก้โรคคันได้ เอาใบสบู่ดำห่อข้าวสุกแล้วหมกขี้เถ้าให้เด็กกินแก้ตาแฉะ หรือนำมาห่ออิฐร้อนนาบท้องในหญิงคลอดบุตรอยู่ไฟสมัยก่อน รวมทั้งประชาชนบางประเทศใช้น้ำมันสบู่ดำใส่ผมด้วย [6]

น้ำมันสบู่ดำ

ปัจจุบันมีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำเพื่อนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล ทดแทนน้ำมันดีเซล โดยคาดว่าในอนาคตจะมีการใช้ไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำเพิ่มมากขึ้น


31.กล้วยพัด


ต้นกล้วยประดับ ตัวใบคล้ายรูปพัด สวยงาม ปลูกด้านหน้าตึกประถม

กล้วยพัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กล้วยพัดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโดดเด่น แม้ว่าจะมีลำต้นคล้ายปาล์ม แต่ก็มิใช่ปาล์ม แม้ว่ามีใบคล้ายกล้วย แต่ก็ไม่ใช่กล้วย แม้ว่าจะอยู่ในวงศ์เดียวกันกับกล้วย แต่ก็อยู่ในสกุลต่างกัน และมีลักษณะร่วมกันไม่มากนัก แท้จริงแล้ว กล้วยพัดเป็นพืชในสกุลเดียวกับปักษาสวรรค์ และเป็นพืชที่เรียกว่าโมโนไทพิก นั่นคือ มีเพียงชนิดเดียวของสกุลนี้ อย่างไรก็ตาม การจำแนกกลุ่มพืชในวงศ์นี้ยังเป็นที่ถกเถียง บางครั้งก็นำกล้วยพัดไปไว้ในสกุลเดียวกับกล้วย (Musaceae) ก็มี สำหรับชื่อในภาษาไทยชื่อ กล้วยพัด ส่วนในภาษาอังกฤษนั้น เรียก traveler's palm หรือ traveler's tree

ลักษณะ

กล้วยพัดมีความโดดเด่นที่ใบเรียงตั้งขึ้นคล้ายพัดจีน เป็นพืชพื้นเมืองของเกาะมาดากัสการ์ ในมหาสมุทรอินเดีย ส่วนในประเทศไทยนั้นมีตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน ปัจจุบันมีการปลูกกล้วยพัดในสถานที่ต่างๆ มากมาย เพราะมีลักษณะลำต้นไม่ใหญ่เกินไป รูปทรงสวยงาม ดูแลง่าย และไม่ทิ้งกิ่งก้านหรือใบให้เกะกะ

กล้วยพัดเป็นพืชมีเหง้า มีก้านใบยาว ใบสีเข้ม ยื่นดิ่งขึ้นจากโคนต้น ยาวเต็มที่ราว 3 เมตร และกว้างราว 25-50 เซนติเมตร มีเหง้าฝังอยู่ใต้ดิน เมื่อโตขึ้นจึงโผล่พ้นดิน แผ่ใบเป็นสมมาตร รวมความสูงทั้งหมดเต็มที่ 9-18 เมตรเลยทีเดียว ส่วนขนาดลำต้นนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 30 เซนติเมตร ตรงโคนใบมีลักษณะโค้งอุ้มน้ำได้มากถึง 1 ลิตร ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า traveller’s tree หรือ traveller’s palm เพราะนักเดินทางสามารถดื่มน้ำจากหลายๆ ส่วนของพืชชนิดนี้ ทั้งที่ซอกโคนใบ และช่อดอกของกล้วยพัด ได้อย่างดี

ดอกของกล้วยพัดมีสีขาวขุ่น ขนาดเล็ก กระจุกเป็นช่อ มีช่อดอกยาวถึง 30 เซนติเมตร ออกดอกได้ตลอดปี และมีผลสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดสีฟ้า

การขยายพันธุ์

กล้วยพัดสามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และหน่อหรือเหง้า สามารถปลูกในดินทรายหรือดินเหนียว ที่มีการระบายน้ำ และมีความชื้นพอสมควร อาจใส่ปุ๋ยบ้างเดือนละครั้ง (18-18-18) ส่วนในช่วงหน้าร้อนอาจให้ปุ๋ยน้อยลง ควรปลูกในสถานที่ที่มีแสงแดดเต็มที่ อาจปลูกในอาคารได้ แต่ควรมีแสงแดดส่องอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าปลูกในที่ที่มีลมพัดแรง หากต้องการใบที่สวย ไม่แตก หรืออาจปลูกให้ต้นไม้อื่นบังลมบ้างก็ได้

กล้วยพัดเติบโตในประเทศไทยได้ดี ด้วยสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งยังทนทานต่อโรคและศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ด้วย

มีความเชื่อดั้งเดิมในถิ่นกำเนิดของกล้วยพัดว่า หากนักเดินทางไปยืนตรงหน้าต้นกล้วยพัดแล้วอธิษฐาน ขอสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้นตามความประสงค์

30.จอก


คุณ บุญญฤทธิ์ หอมจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตรสมุนไพรไล่แมลง
เป็นผู้สังเกตุพบว่า ต้นจอก หรือดอกจอก ที่ลอยอยู่เต็มสระน้ำ
ไม่มีแมลงมากัดกินเลย แสดงว่าต้องมีสารที่ต่อต้านหรือไล่แมลง
เลยได้นำมาทดลองจนเป็นผลสำเร็จ จนเป็นสูตรดังนี้

ส่วนประกอบ

1.ต้นจอกหรือดอกจอก สด มา 3 กก.สับจนละเอียด
2.กากน้ำตาล 1 กก.
3.จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร

วิธีทำ
นำทั้ง3อย่างมาผสมคลุกเคล้าใส่ถังปิดฝาไม่ต้องแน่นสนิท
หมักจนได้ 15 วันนำมากรองเราจะได้น้ำหมัก
นำน้ำหมัก 20 มล.ผสม น้ำเปล่า 20 ลิตร
ไปฉีดพ่นต้นข้าวหรือผักช่วยไล่แมลงได้อย่างชงัด

การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย

1.นำหน่อกล้วยทั้งต้นทั้งรากและใบมีดินปนมาก็ได้ 30 กก.
2.กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 10 กก.

วิธีการทำ
นำหน่อกล้วยทั้งหมดมาสับตำ แล้วคลุกเคล้า กากน้ำตาล
นำมาหมักในถังไม่ต้องใส่น้ำ ปิดฝาไม่ต้องแน่น
ต้องคนทุกเช้าเย็น ครบ 7 วัน
นำมาคั้นเอาแต่น้ำ
ดอกเล็ก ลอยน้ำคล้ายใบบัว

29.ข่า

ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในตระกูลขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ข่าเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

สรรพคุณ

ข่า ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

28.ต้นลำไย



1. แหล่งปลูก

แหล่งปลูกที่เหมาะสมสำ หรับลำ ไย ควรคำ นึงถึงองค์ประกอบสำ คัญ ดังนี้

1.1 พื้นที่

• มีความสูงจากระดับนํ้าทะเล 100 – 1,000 เมตร
• มีความลาดเอียง 10 – 15%
• มีการระบายนํ้าดี ระดับนํ้าใต้ดินลึกกว่า 2 เมตร

1.2 ลักษณะดิน

• ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร
• มีความเป็นกรดด่าง 5.5 – 6.5

1.3 สภาพภูมิอากาศ

• มีอุณหภูมิช่วงฤดูหนาวตํ่ากว่า 15 องศาเซลเซียส นานติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์
• มีปริมาณนํ้าฝนไม่ตํ่ากว่า 1,000 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนดี

1.4 แหล่งนํ้ า

• มีแหล่งนํ้าสะอาดและมีปริมาณมากพอที่จะให้นํ้าได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง

2. พันธุ์

ควรมีลักษณะดังนี้
• ต้นพันธุ์ควรมีประวัติการติดผลดกติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี
• มีเปอร์เซนต์ผลใหญ่จำ นวนมาก มีคุณภาพดี เนื้อหนาเมล็ด
เล็ก สีผิวเหลืองนวล
• เหมาะสมสำ หรับบริโภคสด และทำ ลำ ไยอบแห้ง

3. การปลูก

• ควรเตรียมพันธุ์ดีที่ต้องการไว้ล่วงหน้า 1 ปี เพื่อจะได้ต้นลำ ไยที่แข็งแรง
• เตรียมหลุมปลูกขนาด 80x80x80 เซนติเมตร วางผังให้ระยะปลูก 8×10 เมตร
• ขุดหลุม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3-5 กิโลกรัมคลุกเคล้ากับหน้าดินแล้วใส่ลงหลุม พูนดินสูงจากปากหลุม 15 เซนติเมตร
• ก่อนปลูกทำ หลุมเท่ากระเปาะชำ ต้นลำ ไย วางต้นลำ ไยแล้วกลบโคนให้แน่น
• ทำ หลักป้องกันต้นลำ ไยโยกคลอน รดนํ้าให้ชุ่ม
• พรางแสงให้จนกระทั่งแตกยอดอ่อน 1 ครั้ง จึงงดการพรางแสง

4. การตัดแต่งกิ่ง

• ต้นลำ ไยอายุ 1-3 ปี ซึ่งยังไม่ให้ผลผลิต ควรตัดแต่งให้ลำไยมีลักษณะทรงพุ่มเป็นทรงกลม
• ลำไยอายุ 4-5 ปี ให้ผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยวตัดกิ่งกลางทรงพุ่มที่อยู่ในแนวตั้งเหลือตอ กิ่ง เพื่อเปิดกลางทรงพุ่มให้ได้รับแสงสว่างมากขึ้น
• ลำไยอายุ 5-10 ปี ตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้ทรงพุ่มชนกัน ตัดแต่งเช่นเดียวกับลำ ไยอายุ 4-5 ปี ตัดปลายกิ่งทั้งแนวนอนและแนวราบให้มีความสูงเหลือเพียง 3 เมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน
สำหรับลำ ไยที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งแบบกิ่งเว้นกิ่งเพื่อให้ลำ ไยออกดอกสมํ่าเสมอทุกปี

5. การให้ปุ๋ย

ลำไยอายุ 5 ปี ขึ้นไป มีการใส่ปุ๋ยเคมี ดังนี้
• หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใส่ปุ๋ย 15-15-15+46-0-0 อัตราส่วน 1 : 1 ต้นละ 2 กิโลกรัม กระตุ้นให้ลำ ไยแตกใบอ่อน
• เมื่อลำ ไยแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ประมาณต้นเดือน กันยายน ใส่ปุ๋ย 15-15-15+46-0-0 อัตราส่วน 1 : 1 ต้นละ 2 กิโลกรัม
• ประมาณต้นเดือนตุลาคม กระตุ้นให้ลำ ไยมีใบแก่ พักตัวสะสมอาหาร เตรียมความพร้อมต่อการผ่านช่วงหนาวที่จะกระตุ้นให้ลำไยออกดอก ใส่ปุ๋ย 0-46-0 + 0-0-60 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 2 กิโลกรัม
• เดือนพฤศจิกายน ใส่ปุ๋ย 0-52-34 อัตรา 150 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตรพ่นให้ทั่วทรงพุ่มเพื่อไม่ให้ลำ ไยแตกใบใหม่
• เมื่อลำ ไยติดผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ย 15-15-15+46-0-0 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 1-1.5 กิโลกรัม เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต
• ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 0-0-60 อัตราต้นละ 1-2 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต

6. การให้นํ้า

6.1 วิธีการให้นํ้ า

• แบบใช้สายยางรด ลงทุนตํ่าแต่ต้องมีแหล่งนํ้าเพียงพอ
• แบบข้อเหวี่ยงขนาดเล็ก เป็นการให้นํ้าในกรณีมีแหล่งนํ้าจำ กัด ต้นทุนสูงกว่าแบบแรก
• แบบนํ้าหยด เหมาะสำ หรับที่มีแหล่งนํ้าจำ กัดมากต้นทุนสูง

6.2 ปริมาณนํ้ า

ช่วงฤดูแล้งหลังออกดอก เริ่มให้นํ้าเมื่อลำ ไยมีดอกบานปฏิบัติ ดังนี้
• สัปดาห์แรก ฉีดนํ้าพรมที่กิ่งและโคนต้นเล็กน้อยเพื่อให้ลำ ไยค่อยๆ ปรับตัว
• สัปดาห์ที่สอง เริ่มให้นํ้าเต็มที่ สำ หรับต้นลำ ไยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 7 เมตร ให้นํ้าปริมาณครั้งละ 200 – 300 ลิตรต่อต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

7. การดูแลรักษาหลังการติดผล

7.1 การคํ้ากิ่ง โดยใช้ไม้ไผ่คํ้ากิ่งทุกกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักเนื่องจากพายุลมแรง และกิ่งที่มีผลลำไยจำ นวนมาก

7.2 การป้องกันกําจัดศัตรูลําไย

เมื่อมีโรคและแมลงศัตรูระบาดในระยะนี้ ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรค และสารฆ่าแมลงตามคำ แนะนำ ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนควรห่อผลลำ ไยเพื่อป้องกันการเข้าทำ ลายของแมลงศัตรูพืช เช่น ผีเสื้อมวนหวาน หนอนเจาะขั้ว ค้างคาว และเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้มีการตกค้างของสารเคมีในผลผลิตลำ ไย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

8. การป้องกันกํ าจัดศัตรูลําไย

8.1 แมลงศัตรูที่สําคัญ

8.1.1 หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ (Litchi fruitborer)

หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ Conopomorpha sinensis (Bradly) ทำลายขั้วผลลำ ไยในช่วงเดือนมีนาคม – สิงหาคม
การป้องกันกํ าจัด
• เก็บผลร่วงเนื่องจากการทำ ลายของหนอนเจาะขั้วแล้วทำ ลายทิ้ง
• หลังการเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งโดยเฉพาะกิ่งที่ใบมีดักแด้ของหนอนเจาะขั้วทำ ลายทิ้ง
• หลังติดผลแล้ว 1-2 สัปดาห์ สุ่มช่อผล 10 ช่อต่อต้นถ้าพบไข่ให้พ่นคาร์บาริล 85% WP อัตรา 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ถ้าพบปริมาณมากเกิน 5%ของผลที่สุ่ม พ่นคลอร์ไพริฟอส/ไซเพอร์เมทริน 55%EC (นูเรลล์ – L 505 EC)อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร หรือไซฟลูทริน 5% EC อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร ควรหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน

ลูกสีน้ำตาลต้นสูงผู่มใหญ่

27.ต้นรวยไม่เลิก

วิธีขยายพันธุ์ต้นรวยไม่เลิก

การขยายพันธุ์ของต้นรวยไม่เลิก
[size=-1]การขยายพันธุ์ ของต้นรวยไม่เลิกครับ

ตัดใบมันออกมา เเค่วางเฉยๆ ก็จะหัวเล็กงอกออกมาตรงรอยที่ ขาด

ดูกันใกล้ๆ นะ เบลอนิดนึง

เมื่อเวลาผ่านไป ลูกน้อยๆ ได้ยลโฉม

นำลูกของเรา เเยกใส่กระถาง บ้านใครบ้านมัน จะได้ไม่เบียดกัน

พอโตขึ้นมาอีก เอามาลงกระถางสวยๆ


ขั้นตอนสุดท้าย เอาออกมา โชว์ เเอ่น เเอน เเอ๊น

26.กวกมงคล

ต้นเล็ก และ ใบเล็ก

25.เทียนทอง

มีลูกสีเหลืองต้นเล็ก

24.ตีนกับแก้

ใบรูปผีเสื้อ กำลังเพราะชำ

23.อัญชัญ

ปัจจุุบันกำลังเพราะชำ

22.ต้นมะดัน

ลักษณะลำต้นจะเล็กลูกจะเหมือนใบ

21.ไผ่จืด

ใบยาวเหมือนไผ่ทั่วไป แต่ลำต้นจะเล็กกว่า

20.ว่านรังจืด


คล้ายๆ ใบย่านาง สีอ่อนมากกว่า ใบใหญ่กว่า

19.สนใบเล็ก


ลักษณะคล้ายกับต้นบานบุรี แต่ใบจะอ่อนกว่า

18.บานบุรี


ดอกสีเหลืองเป็นผุ่ม

17.ต้นหนวดปลาหมึก



ถิ่นกำเนิด รัฐควีนส์แลนด์ ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย

ลักษณะทั่วไป

จัดเป็นไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 2 เมตร เจริญเติบโตเร็วมาก ใบมีสีเขียวเป็นมัน หนวดปลาหมึก มีหลายชนิด มีทั้งใบเล็ก ใบใหญ่ แต่จะมีลักษณะเหมือนกัน คือใบจะแตกออกมาจากกิ่งเดียว โดยแต่ละกิ่งจะมีใบ ประมาณ 7-15 ใบ ซึ่งจะกางออกคล้ายกับนิ้วของคน หนวดปลาหมึกเจริญได้ดีในห้อง ที่มีความอบอุ่น มีการเจริญเติบโตที่
สม่ำเสมอ เมื่อปลูกไปนานๆ หนวดปลาหมึกจะมีลำต้นที่สูง ถ้าต้องการให้แตกกิ่งก้านสาขา ควรตัดยอดออก

การขยายพันธุ์ โดยการตัดชำ

การดูแลรักษา

แสง ต้องการแสงสว่างในการเจริญเติบโตแต่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง
อุณหภูมิ
ชอบอุณหภูมิ ประมาณ 24- 27 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นมากในขณะที่ต้นยังเล็ก
น้ำ ควรให้น้ำแต่น้อย แต่ให้บ่อยๆ ครั้งโดยจับดินในกระถางดู ถ้าแห้งควรให้น้ำ
ดินปลูก ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ใบไม้ผุๆ 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละ 2 ครั้ง
กระถาง ควรเปลี่ยนกระถางใหม่ทุกปี
โรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค แมลงได้แก่ เพลี้ยต่างๆ
การป้องกันกำจัด ใช้ยาไซกอน (Cygon) อัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร รดที่โคนต้น

16.ผักอีเลิด

ผักอีเลิดนำไปใส่ต้มปลาไหลให้อร่อยยิ่งขึ้นดอกเหมือนกระดาษสีขาว

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

15.ต้นเทียน


ใบแหลมแข็งสีเขียวสด ปลูกเพาะไว้บริเวณเรือนเพาะชำ

14.ต้นอรชร


กำลังเพาะต้นเล็กๆ ไว้บริเวณเรือนเพาะชำ

13.ต้นม่อน


กำลังปักชำ ที่บริเวณเรือนเพราะชำ

12.พลูด่าง

ใบเขียวอ่อนสลับสีขาวด่างๆ ปลูกแถวเรือนเพราะชำ

ชื่อสามัญ lvy-Arum หรือ Devil-lvy
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scindapsus sp.

ลักษณะทั่วไป     พลูด่างเป็นไม้เลื้อยขนาดเล็กในเขตร้อน มีลักษณะของใบสีเหลืองต่างสลับสีเขียวอ่อน ใช้สำหรับปลูกประดับให้เลื้อยขึ้นไปในแนวดิ่งหรือปลูกให้เลื้อยขึ้นตามฝา ผนังเมื่อปลูกลงดินจะมีใบใหญ่กว่าปลูกในกระถาง ลักษณะต้นทั่วๆไปคล้ายพวก lvy คือเป็นไม้เถาพวกใบเท่านั้น ดอกไม่สวยงามเหมือนดอนพวก Arum มีกาบดอก (Spathes ) สีเขียวอ่อนห่อหุ้มเดือยของดอกอีกทีหนึ่งใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจสีเขียวสด สลับกับสีเหลืองนวล

การดูแลรักษา
แสง
           ต้องการแสงแดดมาก ถ้าขาดแสงหรือแสงไม่พอ สีของใบจะซีดไม่สวย
อุณหภูมิ      ชอบอุณหภูมิ ประมาณ 18 - 24 องศาเซลเซียส
ความชื้น     ชอบความชื้นพอสมควร ถ้าหากอากาศภายในห้องแห้งแล้ง ควรฉีดพ่นละอองน้ำให้สม่ำเสมอ
น้ำ            ควรให้น้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นหน้าร้อนอาจจะให้มากกว่านี้ก็ได้ โดยเช็คจากผิวหน้าของดินในกระถาง
ดินปลูก      ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ใบไม้ผุๆ 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน
ปุ๋ย            ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำอย่างเจือจางรดเดือนละ 1 ครั้ง
กระถาง      ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกระถางบ่อย 2-3 ปี อาจจะเปลี่ยนสักครั้งก็ได
การขยายพันธุ์
ก็โดยการตัดต้นหรือตัดยอดมาปักชำ ส่วนการปลูกก็โดยปลูกลงในกระถาง ตั้งประดับที่มีหลักยึด หรือจะปลูกในกระถางแขวน หรือจะปลูกลงในกระถางทรงแคบ หรือปลูกในขวดใส่ปลูกเลี้ยงก็ได้

11.เศรษฐีเมืองนอก


ปลูกอยู่เรือนเพราะชำ มีลักษณะใบขาวสลับกับเขียวอ่อนๆ สวยงาม
 
    ต้นเศรษฐีเรือนนอก  เขาว่าปลูกต้นไม้ต้นนี้จะได้ไปเมืองนอก คนที่เกิดในวันอังคารปลูกจะได้ดี

10.ขาไก่แดง


ขาไก่แดง ต้นสีแดงๆ สวยมาก ปลูกอยู่สวนในเรือนเพราะชำ

9.งวงช้าง

งวงช้าง ใบยาวๆ สวยดี

8.ผักชี


ผักชีมีกลิ่นฉุนในใบ ใส่แกงอ่อมอร่อยมากๆ

     ผักชี (Coriander) เป็นพืชผักสมุนไพรมีกลิ่นหอม อายุสั้นประมาณ 40-60 วัน สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ผักชีเป็นผักที่ใช้ใบ ก้านใบ และลำต้นบริโภค เป็นผักเคียงและปรุงแต่งอาหาร ให้มีรสชาิและกลิ่นหอมน่ารับประทาน

การเตรียมดินปลูกผักชี

ใช้จอบขุดดิน เตรียมแปลงลึก 1 หน้าจอบ (15-20 เซนติเมตร) ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลาย แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันหน้าดิน ย่อยดินให้ ละเอียดแล้วรดน้ำให้ชุ่มทั่วแปลง นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำไว้ 1 คืน แปลงทึ่เตรียมไว้ คลุมด้วยฟางข้าวเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ของหน้าดินและรดน้ำอีกครั้งหนึ่ง

การดูแลรักษาผักชี

  1. การให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-11-11 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กำมือ (2-3 ช้อมแกง) หว่านทุกๆ 15 วัน ต่อขนาดพื้นที่ 1 ตารางเมตร และรดน้ำตามทันที หรือจะใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
  2. การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
  3. การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชอย่าให้รบกวน และลุกลามโดยเฉพาะช่วงแรกหลังหยอดเมล็ด วิธีการกำจัดวัชพืชโดยใช้ มือถอน

การเก็บเกี่ยว

เนื่องจากผักชี เป็นพืชที่ใช้บริโภคได้ทุกส่วน ก่อนถอนควรรดน้ำให้ดินชุ่มและควรถอนทั้งต้นทั้งราก

7.ใบเตย


ใบเตย มีกลิ่นหอม ปลูกบริเวณส่วนย่อม

ประโยชน์ของเตยหอม คือ ราก และใบ แต่ละส่วนของเตยหอมจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้
1.ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
ใบเตยต้มกับน้ำ ใช้รับประ ทานแก้หวัด แก้ไอ ดับพิษไข้ ดับร้อน ใบเตยมีสารคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) และยังใช้แต่งกลิ่นให้หอมอีกด้วย เช่น แต่งกลิ่นในขนมหลายชนิด ได้แก่ ขนมขี้หนู ลอดช่องซ่าหริ่ม ขนมชั้น ฯลฯ
2.รากเตย
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

6.ตะไคร้


ตะไคร้ บางทีก็เรียก จะไคร้ ไคร คาหอม หัวไคลิง ลิงไค เยี่ยวเฮื้อ เชิด

1. พันธุ์ : ตะไคร้ม่วงหรือตะไคร้แกง และตะไคร้ขาวหรือตะไคร้ยำ

2. การเตรียมดิน : ไถดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน แล้วไถพรวนยกร่องแบบปลูกอ้อยหรือข้าวโพดฝักอ่อน ปล่อยนำ้ไปตามร่องทิ้งไว้ 2-3 วันให้ดินชื้น ไม่แห้งหรือเฉะเกินไปพอปักต้นพันธุ์แล้วไม่ล้ม

3. การปลูก : ต้น พันธุ์ให้ใช้ต้นตะไคร้ที่ปลูกไว้นานเฉลี่ย 8-10 เดือน ตัดใบออกเหลือแต่ต้นยาวประมาณ 30-40 ซม. นำไปปลูกได้ทันทีหรือแช่น้ำไว้ประมาณ 5-7 วันเพื่อให้รากงอก รากที่แก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้ม แล้วนำไปปลูกในร่องที่ปล่อยนำ้้แล้วลึกประมาณ 1-2 นิ้ว ปักต้นตะไคร้หลุมละ 1 ต้น
ให้ต้นตะไคร้เอียง 45 องศาไปด้านใดด้านหนึ่ง ใช้ระยะปลูก 15x15 เซนติเมตร หรือ 20x20 เซนติเมตร พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะปลูกต้นตะไคร้ได้ประมาณ 10,000-15,000 ต้น ถ้าคำนวณเป็นน้ำหนักจะใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 400-500 กิโลกรัมต่อไร

4. การให้น้ำ : หลังจากปลูกตะไคร้ไปแล้วเกษตรกรจะต้องให้น้ำทุก 5-7 วัน โดยการปล่อยไปตามร่องหรือการรดน้ำทางสายยาง

5. การใส่ปุ๋ย : ต้น ตะไคร้จะเริ่มตั้งตัวได้เมื่อต้นมีอายุได้เฉลี่ย 7-10 วันหลังปลูก ให้หว่านปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ สลับกับสูตรเสมอ 15-15-15 หว่านเป็นประจำทุกเดือน

6. การเก็บเกี่ยว : เก็บเีกี่ยวเมื่ออายุ 6 เดือนแต่ถ้าบำรุงรักษาดี 4 เดือนก็เก็บได้แล้ว การปลูก 1 ครั้งเก็บได้ 3 รอบ วิธีการเก็บใช้มีดตัดและผลผลิตทำการลอกกาบและตัดแต่ง ตัดใบ ตัดรากทิ้งล้างน้ำให้สะอาด มัดเป็นกำละ 10 กิโลกรัม

7. โรคแมลง : มีปัญหาน้อย ถ้าจะพบก็มีหนอนเจาะลำต้นแต่ทำลายไม่มากถ้ามีการจัดการที่ดี

8. ผลผลิต : ประมาณ 2,000 กิโลกรัม/ไร่

5.มะขามเทศ

ลักษณะของพืช » เป็นต้นไม้ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ นับว่าเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ใบสีเขียวใบไม้สดใส ลักษณะใบเล็กๆ กลมๆ ขนาดใหญ่ กว่าใบมะขาม ดอกมีสีขาว เขียว เป็นฝอยๆ ฝักออกมาเป็นลักษณะ บิดงอ มีเปลือกหุ้มเนื้อสีขาวๆ เมล็ดของมะขามเทศอยู่ข้างใน ฝักอ่อนจะเป็นสีเขียวใบไม้ แก่แล้วจะเป็นสีแดงปนอยู่หรือสีแดงจัด ฝักจะ แตกอ้าออกมองเห็นเนื้อข้างในทีเดียวเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
รับประทานได้ รสหวานมัน อาจจะมีรสฝาดรวมอยู่เล็กน้อย

การปลูก » มะขามเทศปลูกง่ายมาก สามารถขึ้นได้ทั่วประเทศในที่ดินทั่วไป จะเห็นว่ามีขึ้นอยู่ตามป่าดง ริมทาง ที่โล่งว่างเปล่าทั่วไป ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่งก็ได้

ส่วนที่ใช้เป็นยา » เอาเปลือกมาใช้ได้ดี

รสและสรรพคุณยาไทย » เอาเปลือกต้นมะขามเทศมาต้ม เอาน้ำมาใช้ล้างบาดแผลสดได้ดีมาก เพราะสามารถสมานแผล ห้ามเลือดได้ หรือจะเอาเปลือกต้นมะขามเทศมาต้ม เอาน้ำดื่มแก้อาการท้องร่วงท้องเสียก็ได้ ดีเช่นเดียวกัน เนื้อมะขามเทศรับประทานได้อร่อย เป็นผลไม้ที่ดีอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเปลือกต้มเอาน้ำฝาดมาย้อม แห วนก็ได้อีก นอกจากเป็นยาแล้วยังใช้ประโยชน์ได้อีกในเรื่องนี้

4.มะขาม


มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล

ใบของมะขามเป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้าน 2 ข้างของแกนกลาง คล้ายขนนก ถ้าปลายสุดของใบจะเป็นใบย่อยเพียงใบเดียวเรียก แบบขนนกคี่ (odd pinnate) เช่น กุหลาบ อัญชัน ก้ามปู ถ้าสุดปลายใบมี 2 ใบ เรียกแบบขนนกคู่ (even pinnate) เช่น มะขาม

การปลูกมะขาม ทำได้โดยเตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง ยาวและลึกด้านละ 60 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าดินรองก้นหลุมเอากิ่งพันธุ์ลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม มะขามเมื่อลงดินแล้วจะโตเร็ว ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น และการบำรุงรักษาหลังเริ่มปลูก ควรเอาใจใส่ดายหญ้ารอบต้น และรดน้ำทุกวัน

3.ต้นตาล


ตาล เป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มขนาด ใหญ่ สกุล (Genus) Borassus ในวงศ์ (Family) Palmae เป็นปาล์มที่ แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 ซม. ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน
บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่ กว้าง 1 – 1.5 เมตร มีก้านเป็นทางยาว 1 – 2 เมตร ขอบของทางของก้านทั้งสองข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง ๆ และคมมาก
โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เราเรียกว่านิ้วตาลแต่ละนิ้วยาวประมาณ 40 ซม. และโตวัดผ่า กลางประมาณ 1.5 – 2 ซม. โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวมและมีกาบแข็ง ๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้าย ๆ กัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่ง ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 2 ซม. และมีกาบแข็ง ๆ หุ้ม แต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูทรงกระบอกสั้น ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 15 ซม. ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมันหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 – 3 เมล็ด

2.ผักบุ้ง

ผักบุ้ง มีวิธีการปลูกง่าย ๆ ถ้าเป็นผักบุ้งจีน เอาเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง จีนมาแช่น้ำเอาไว้ เอาผ้าห่อเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งชุบน้ำให้เปียกชุ่ม โดยตลอดซัก 1 คืนหรือ 2 คืน ก็ได้ ต่อจากนั้นก็เอาไปหว่านในแปลงที่ขุด พรวนดินเอาไว้ ผสมกับปุ๋ยคอกพอสมควร หว่านเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งให้ทั่วกัน อย่าให้หนาเกินไป หว่านพอห่างๆ เอาฟางแห้งว่างลงไปทับเอาไว้บนดิน ให้คลุมบางๆเพื่อป้องกันไม่ให้ความชุ่มชื้นระเหยออกไปเร็วนัก รดน้ำให้ชุ่มพอสมควร รดน้ำเช้าเย็น รอเวลาไม่กี่วันก็จะเห็นว่ามีผักบุ้งออกมาให้เห็นแล้ว

การบำรุงรักษา: ยังคงรดน้ำทุกวัน เช้า เย็น พอเห็นว่าต้นโตพอที่จะเก็บก็เอามีดมาตัดที่โคนต้น แต่ว่าการที่เราตัดโคนเอาเฉพาะต้นผักบุ้งมานั้น ยังทำให้ต้นผักบุ้งแตกยอดออกมาได้อีกด้วย สามารถที่จะเก็บได้หลายๆครั้งด้วยกัน

ถ้าเป็นผักบุ้งไทย เอาต้นผักบุ้งไทยมา ปลูกลงในดิน แล้วรดน้ำก็ได้ ผักบุ้งจะเจริญงอกงามได้ดีไม่ต้องเพาะเมล็ดเหมือนผักบุ้งจีน แต่จะต้องรดน้ำเช้าเย็นด้วย ผักบุ้งชอบน้ำอยู่แล้ว ขอให้มีน้ำรดให้ชุ่มก็เจริญงอกงามได้ดีเสมอ และถ้าจะให้ดีก็จะต้องให้อาหารหรือปุ๋ยคอกพอสมควร กรณีที่มีบ่อน้ำ คูน้ำ ท้องร่องหรือสระน้ำ เอาผักบุ้งไทยมาปลูกไว้ริมน้ำก็ได้ เห็นอย่างนี้แล้วคงไม่ต้องสงสัยนะครับว่าทำไมผักชนิดนี้ถึงได้อยู่คู่ครัวไทยมานาน