วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

32.ต้นสบู่ดำ


ผลของสบู่ดำนำมาสกัดเป็นน้ำมันได้ด้วย ต้นเล็กเป็นไม้พุ่มสูง

ลักษณะ

เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 2-7 เมตร อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา เมื่อหักลำต้น ส่วนยอดหรือส่วนก้านใบจะมียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นเขียว

ดอก

ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายของยอดขนาดดอกเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอม อ่อนๆ มีดอกตัวผู้จำนวนมากและดอกตัวเมียจำนวนน้อยอยู่บนต้นเดียวกัน

ผลและเมล็ด


เมล็ดสบู่ดำ

ผลและเมล็ดมีสาร hydrocyanic เมล็ดสบู่ดำมีสารพิษเรียกว่า CURCIN หากบริโภคแล้วทำให้เกิดอาการท้องเดินเหมือนสลอด เมื่อติดผลแล้วมีสีเขียวอ่อนเกลี้ยงเกลาป็นช่อพวงมีหลายผล เวลาสุกแก่จัดมีสีเหลืองคล้ายลูกจันทร์ รูปผลมีลักษณะทรงกลมขนาดปานกลาง เปลือกหนาปานกลาง

ผลหนึ่งส่วนมากมี 3 พู โดยแต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้ เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็กๆ ติดอยู่ เมื่อเก็บไว้นานจุดนี้จะหดตัวเหี่ยวแห้งลงขนาดของเมล็ดเฉลี่ย ความยาว 1.7-1.9 ซม. หนา 0.8-0.9 ซม. น้ำหนัก 100 เมล็ดประมาณ 69.8 กรัม เมื่อแกะเปลือกนอกสีดำออกจะเห็นเนื้อในสีขาว[5]

ประโยชน์

ต้นสบู่ดำเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้หลายโรค เช่น ใช้น้ำยางใสป้ายริมฝีปากรักษาโรคปากนกกระจอก รักษาแผลในปาก แก้อาการปวดฟัน นำมาผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้นขาวในเด็กก็หาย หยอดตาแดงหายได้เช่นกัน หรือผสมกับน้ำเจือจางเป็นยาระบาย

ส่วนลำต้นนำมาผ่าสับเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคซางในเด็ก แก้โรคคันได้ เอาใบสบู่ดำห่อข้าวสุกแล้วหมกขี้เถ้าให้เด็กกินแก้ตาแฉะ หรือนำมาห่ออิฐร้อนนาบท้องในหญิงคลอดบุตรอยู่ไฟสมัยก่อน รวมทั้งประชาชนบางประเทศใช้น้ำมันสบู่ดำใส่ผมด้วย [6]

น้ำมันสบู่ดำ

ปัจจุบันมีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำเพื่อนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล ทดแทนน้ำมันดีเซล โดยคาดว่าในอนาคตจะมีการใช้ไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำเพิ่มมากขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น