วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

1.ต้นทานตะวัน

ไม้ดอกประดับบ้าน พืชอาหาร สมุนไพร
แก่นตะวัน (Jerusalem artichoke)

แก่นตะวัน (Jerusalem artichoke)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus tuberosus L. มี ดอกคล้ายบัวตอง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อเรียก Jerusalem artichoke มักจะสับสนกับพืชอีกชนิดหนึ่ง คือ Globe artichoke (Cynara scolymus) ซึ่งใช้ดอกรับประทานเป็นผักสด Jerusalem artichoke พืชนี้มีถิ่นกำเนิดในแถบหนาวของทวีปอเมริกาเหนือ แต่มีชื่อนำว่า Jerusalem ก่อ ให้เกิดความ เข้าใจผิดว่ามีถิ่นกำเนิดแถบตะวันออกกลาง มีความสามารถปรับตัวได้ดีในเขตร้อน มีความแข็งแกร่งทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันมาก จึงให้ชื่อนำหน้าพืชนี้ว่า b และเป็นพืชที่ใกล้ชิดกับทานตะวัน จึงให้ชื่อพืชชนิดใหม่นี้ว่า "แก่นตะวัน" พืชนี้จัดเป็นพืชหัว พืชอาหารเพื่อสุขภาพ พืชสมุน ไพรสัตว์ พืชพลังงานทดแทน และพืชเพื่อการท่องเที่ยว

การนำไปใช้ประโยชน์
หัวใช้เป็นอาหารประเภทผัก หัวสดมีรสชาติคล้ายแห้ว นำมาประกอบ อาหารคาว หวาน ได้หลายชนิด หัวเป็นแหล่งสะสมของอินนูลิน (inulin) ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลฟรุ๊คโตสที่ต่อกันเป็นโมเลกุลยาว เมื่อเก็บหัวแก่นตะวันไว้ในห้องเย็นจะทำให้หัวแก่นตะวันมีความหวานมากขึ้น "อิน นูลิน" มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ลดไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด และโรคหัวใจ สร้างภูมิคุ้มกันโรค อินนูลิน เป็นสารเยื่อใยอาหาร ไม่ถูกย่อยในกระเพาะ และลำไส้เล็ก จึงอยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีความรู้สึกหิว กินอาหารได้น้อยลงจึงช่วยลดความอ้วนได้ และลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ จึงนับว่าเป็นพืชอาหารเพื่อสุขภาพ หัว ใช้เสริมในอาหารสัตว์ มีผลต่อการเจริญเติบโต ลดจุลินทรีย์ที่เป็นโทษในระบบทางเดินอาหาร สร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ลดการใช้สารปฏิชีวนะ และมูลสัตว์มีกลิ่นเหม็นน้อยลง จึงถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรในสัตว์ นอกจากนั้น หัวใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลกอฮอล์ หัวสด 1 ตัน สามารถผลิตเอทานอล ที่บริสุทธิ์ 99.5% ได้ 100 ลิตร นำไปผสมเบนซิน เพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ จึงจัดเป็นพืชพลังงานทดแทนได้ด้วย แก่นตะวันจะมีดอกบานเมื่ออายุประมาณ 60 วัน และทั้งแปลง ปลูกจะมีต้นทยอยออกดอกได้นานประมาณ 2 เดือน ดอกมีสีเหลืองคล้ายบัวตอง มีความสวยงามไม่แพ้ทุ่งบัวตอง หรือทุ่งทานตะวันเลยทีเดียว จึงนับได้ว่าเป็นพืชที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้

1 ความคิดเห็น: